The “Indian” Story

0

วันนี้เราจะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงความเป็นมาของ Indian Motocycle แบรนด์มอเตอร์ไซค์เก่าแก่สัญชาติอเมริกาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 118 ปี

Springfield เมืองเล็กในรัฐ Massachusetts ประเทศอเมริกัน ตั้งขึ้นในปี 1636 และกลายเป็นบ้านเกิดให้กับแบรนด์สัญชาติอเมริกันระดับตำนานหลายแบรนด์

โรงงานผลิตอาวุธ Springfield เคยผลิตปืนให้ทหารอเมริกันในปี 1794 เป็นครั้งแรก และต่อมาก็ผลิตปืนไรเฟิล Springfield ที่เป็นตำนานอีกด้วย Pentagon ได้ทำการปิดโรงงานในปี 1968 ในช่วงสงครามเวียดนาม บริษัทอื่นๆ ที่มีชื่อที่อยู่ใน Springfield ก็เช่น Rolls Royce ที่สร้างรถหรูให้ตลาดรถอเมริกันตั้งแต่ปี 1919 จนกระทั่งปิดไปในปี 1931 ตลาด Wall Street ล้มและเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ และนั่นส่งผลกับ Rolls Royce ด้วยการไหลทะลักของแรงงานมีฝีมือเข้ามาในเมือง Springfield จากการมีโรงงานผลิตที่ต้องการแรงงานมากฝีมือหลายแห่ง จึงไม่แปลกใจเลยที่มอเตอร์ไบค์สัญชาติอเมริกันแบรนด์แรกจึงถูกสร้างขึ้นในเมืองกลางป่าแห่งนี้ ในปี 1901 George M. Hendee และ C. Oscar Hedstrom ได้ก่อตั้ง Indian Motorcycle ขึ้น

โรงงานแห่งแรกของ Indian Motocycle

            เพื่อให้แม่นยำมากขึ้น จริงๆ แล้วเป็นบริษัท Hendee Manufacturing Company เปลี่ยนชื่อไปเป็น Indian ในปี 1928 โดยครั้งนี้ ‘Indian’ เป็นชื่อคุ้นหูสำหรับผู้ที่หลงใหลในมอเตอร์ไบค์ทั่วโลก ในปี 1910 Hendee Manufacturing ได้สร้างมอเตอร์ไบค์มากกว่าแบรนด์อื่นๆ ในโลก ปี 1911 เราก็ได้เห็น Indian ครองอันดับ 1 – 3 ในการแข่งขันที่ Isle of Man

Oscar Godfrey winner of the 1911 Isle of Man

            ช่วงระหว่างปี 1920 และ 1946 เจ้า Scout กลายเป็นโมเดลที่สร้างความนิยมได้สูงสุดของทาง Indian เครื่องยนต์วีทวิน 42 องศาสไตล์สปอร์ตออกแบบโดย Charles Franklin เจ้า Scout ได้สร้างชื่อในแง่ของความทนทานและความไว้วางใจไว้เป็นอย่างดี ความจุของเครื่องยนต์เพิ่มจาก 610 ซีซีถึง 740 ซีซี และ Scout 101 เป็นที่รู้จักกันดีว่าควบคุมได้ดีมากๆ

Indian Scout 101

โมเดลยอดนิยมอื่นๆ จาก Indian ก็จะมี Chief ซึ่งใช้เครื่องวีทวินเช่นกัน Chief มีเครื่องยนต์ขนาด 1,000 ซีซี และเพิ่มขึ้นไปจนถึง 1,300 ซีซีในท้ายที่สุด Chief มีบังโคลนทรงลึกที่ต่อมากลายเป็นเอกลักษณ์ของทาง Indian ตั้งแต่ปี 1930 Indian ก็นำโลโก้หัวของรุ่น Chief มาไว้ที่ถังน้ำมัน หรือตราที่บังโคลน โรงงาน Springfield จึงกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘Wigwam’ (กระท่อมของชนเผ่าอาปาเช่)

Indian Big Chief 1923

Indian หวังหว่านเมล็ดพันธ์ุก่อนจะล้ม โดยการขายกิจการให้กับรัฐบาลอเมริกาในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1917/18 นี่ทำให้ตัวแทนจำหน่าย Indian หลายเจ้าล้มพับจากผลกระทบทางลบในระยะยาว หลายๆ ตัวแทนเปลี่ยนไปขาย Harley-Davidson คู่แข่งตัวฉกาจของ Indian ทั้งๆ ที่ควบรวมเข้ากับ Du Pont Motors ในปี 1930 ไปแล้วก็ตาม และด้วยแผนการตลาดที่ผิดพลาดทำให้ล้มละลายในปี 1953

หลายบริษัทต่างมาจีบแบรนด์ Indian เพื่อจะติดแบรนด์ใหม่อย่างเช่น Royal  Enfields และ Matchless motorcycles ในฐานะ Indianในอเมริกา มี Floyd Clymer แห่ง Clymer Technical ที่พยายามที่จะคืนชีพแบรนด์อเมริกันแบรนด์นี้ในช่วงปี 1963 ถึง 1977 แต่การเสียชีวิตของเขาในปี 1970 ทำให้ภรรยาของเขาขายสิทธิ์ในการใช้ชื่อ Indian ให้กับทนายที่ชื่อว่า Alan Newsman ที่เป็นชาว Los Angeles

สถานการณ์ของ Indian ก็ลุ่มๆ ดอนๆ มาจนกระทั่งปี 2011 ที่มาเข้ากับกลุ่ม Polaris Industries ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถือกำเนิดในช่วงทศวรรษ 1960 ในฐานนผู้ผลิตสโนว์โมบายล์และ ATV โดย Polaris ซื้อสิทธิ์การใช้ชื่อ Indian และเริ่มการผลิตมอเตอร์ไบค์ Indian ยุคใหม่ขึ้นมาเคียงคู่กับ Victory ที่เป็นแบรนด์ของตัวเองอยู่แล้ว Victory ใช้เวลาสร้างชื่อในด้านความเป็นยอดทางวิศวกรรมขึ้่นมาได้ในระยะเวลาเพียงไม่นาน ด้วยครูเซอร์เครื่องยนต์วีทวินที่ยอดเยี่ยม ในช่วงต้นของปี 2017 Polaris ประกาศว่าพวกเขาจะหยุดการผลิต Victory เพื่อที่จะโฟกัสไปความใส่ใจและทรัพยากรไปยังแบรนด์ Indian

Victory motorcycles

ความสูญเสียของ Victory คือการได้รับของ Indian อย่างไม่ต้องสงสัย สิ่งที่ได้มาคือการเติบโตของรถเครื่องวีทวิน ซึ่งเป็นชื่อเสียงและมรดกของ Indian อย่างแท้จริง Scout Sixty ใช้เครื่องยนต์วีทวิน 1,000 ซีซีมาพร้อมกับสไตล์สวยงามและสมรรถนะที่ดี ส่วน Scout นั้นมีสไตล์คล้ายกับ Scout Sixty แต่มีระบบกันสะเทือนที่อัพเกรดขึ้นไป สไตล์ที่โดดเด่นและเครื่องยนต์ขนาด 1,200 ซีซีที่มีสมรรถนะมากกว่า

Indian Scout

Indian Chief Dark Horse ก็มีชุดสีดำหลายเฉดตามชื่อ และเจ้า Chief Classic ก็โดดเด่นด้วยบังโคลนและหัว Indian ที่ถังน้ำมันและบังโคลนหน้า เครื่องยนต์วีทวิน Thunder Stroke ขนาด 111 คิวบิคนิ้วผลิตแรงบิดได้มากถึง 161.6 นิวตันเมตรที่ีรอบต่ำเพียงแค่ 3,000 รอบ เสียงของครูเซอร์แสนคลาสสิค ผสมผสานกับความคลาสสิคที่ชวนให้โหยหาถึงอดีต ทั้งยังมีเทคโนโลยีแบบสมัยใหม่อีกด้วย!

Indian Chirf Dark Horse

Indian Chief Vintage คือแบ็กเกอร์สุดคลาสสิค ส่วน Touring ก็จะมีชิลด์กันลม เบาะหนัง และกระเป๋าข้าง โดยใช้เครื่องยนต์ Thunder Stroke ขนาด 111 คิวบิคนิ้ว จบงานด้วยชุดสีทูโทนซึ่งสื่อถึงภาพลักษณ์ไร้กาลเวลาของ Indian ทั้งหมดนี้คือ Indian โมเดลใหม่ที่มีวางจำหน่ายในตอนนี้

Indian Chief Vintage

ในความเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลาของโลกที่บ้าคลั่งใบนี้ ผมพบว่าตัวผมเองถวิลหาอะไรที่คลาสสิคและไร้กาลเวลามากขึ้นไปเรื่อยๆ บางอย่างนั้นใช้งานได้ดีในแบบของยุคสมัยใหม่ แต่ก็มีรูปลักษณ์ที่ย้อนเวลากลับไป บางอย่างที่ดูคล้ายกับงานฝีมือ ไม่ใช่งานจากคอมพิวเตอร์ บางครั้งที่ทำให้เลือดเนื้อและจิตวิญญาณเร่าร้อน Indian โมเดลใหม่ๆ นั้นมีทุกอย่างที่กล่าวมา และมันยังมากด้วยจิตวิญญาณคลาสสิคแบบอเมริกาแท้ๆ ด้วย

รับชมข่าวสารอื่นๆของ Indian คลิกที่นี่

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Exit mobile version