Home ข่าวมอเตอร์ไซค์ MotoAmerica รอดสนามนี้ได้ สนามอื่นก็หวานหมู

MotoAmerica รอดสนามนี้ได้ สนามอื่นก็หวานหมู

0

MotoAmerica รอดสนามนี้ได้ สนามอื่นก็หวานหมู

การแข่งขันรายการ MotoAmerica

MotoAmerica อีกหนึ่งการแข่งขันที่ได้ใจชาวอเมริกันแบบถล่มทลาย โดยนิยามของคำว่า ‘ซูเปอร์ไบค์’ หมายถึง มอเตอร์ไซค์ทรงสปอร์ตที่มีสมรรถนะสูง แต่ในปัจจุบันการแข่งรถในระดับซูเปอร์ไบค์บนท้องถนนมีขึ้นมากมายทั่วโลก โดยความนิยมของชื่อนี้ต้องย้อนไปในปี 1976 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งการแข่งขัน AMA Superbike Championship ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น Moto America Superbike 

การแข่งขันรถในคลาสของซูเปอร์ไบค์ในช่วงแรก

ในช่วงเวลานั้นไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่ารถคลาสซูเปอร์ไบค์ จะได้รับความสนใจจากแฟน ๆ และภายในระยะเวลาไม่กี่ปีความนิยมของการแข่งขันประเภทนี้ก็พุ่งแซงหน้าคลาสการแข่งอื่น ๆ ทั้งหมดในอเมริกา นอกจากนี้ยังสร้างนักแข่งระดับแนวหน้าของวงการแข่งมอเตอร์ไซค์อีกด้วย จนถึงช่วงกลางยุค 1980 ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า AMA ซูเปอร์ไบค์ และนักแข่งดาวเด่นของรายการ คือสิ่งที่แฟน ๆ ตั้งหน้าตั้งรอที่จะได้เข้ามาชมการแข่งขัน

เพียงแค่สิบกว่าปีหลังจากที่ก่อตั้งขึ้นการแข่งซูเปอร์ไบค์ การแข่งขันนี้ก็แพร่หลายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก จน FIM ได้จัดตั้งการแข่งขัน World Superbike Championship ในปี 1988 และในปีนั้นแชมป์โลกซูเปอร์ไบค์คนแรก ได้แก่ Fred Merkel. กับฉายา “นักแข่งรถฮีโร่ชาวอเมริกัน

Fred Merkel World Superbike Championship 1988/1989

MotoAmerica การแข่งขันในยุคแรก

การแข่งขันซูเปอร์ไบค์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงต้นถึงกลางยุค 1970 มีมอเตอร์ไซค์หลากหลายค่ายที่ร่วมเข้ามาแข่งขันกันไม่ว่าจะเป็น Honda CB750, Kawasaki Z1, Norton Commando, Triumph Bonneville, BMW R90S, Ducati 750SS รวมถึงรถสองจังหวะของ Yamaha, Kawasaki และ Suzuki ถูกผลิตจากโรงงานด้วยสมรรถนะที่มีพละกำลังมหาศาล และการควบคุมที่ดีขึ้นจนไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพได้เต็มที่บนท้องถนน ด้วยเหตุนี้ ผู้ขับขี่ในยุค Baby Boomer จึงเริ่มนำมอเตอร์ไซค์ของพวกเขามาปรับแต่ง ติดตั้งสายล็อกเพื่อความปลอดภัย ติดป้ายหมายเลข และออกมาแข่งบนสนามแข่งกันมากขึ้นจนเป็นประวัติการณ์

การแข่งขัน Laguna Seca Raceway 1973

 

จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 1973 เมื่อผู้จัดการแข่งขันอย่าง เกวิน ทริปป์ และ บรูซ ค็อกซ์ ได้เชิญกลุ่มนักแข่งรถโปรดักชั่นมายังสนาม Laguna Seca Raceway ในเดือนกรกฎาคมปี 1973 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน AMA National Road Race ในคลาส Heavyweight Production โดยผู้ชนะในการแข่งขันนั้นคือ อีวอน ดูฮาเมล ที่ชนะ สตีฟ แมคลาฟลิน ซึ่งทั้งคู่ขี่ Kawasaki Z1 ส่วน ไมค์ คลาร์ก ชนะในคลาส Lightweight Production ด้วย Yamaha RD350 การแข่งขันดังกล่าวได้รับความนิยมมากจากแฟน ๆ เป็นอย่างมาก ทำให้การแข่งขันนี้ได้ถูกจัดการแข่งขันขึ้นอีกครั้งในปี 1974 ซึ่งในปีนั้นการแข่งโปรดักชั่นยังได้ขึ้นปกนิตยสาร Cycle News โดยมีพาดหัวว่า ‘Superbike National’ และทำให้การแข่งขันรถในคลาสซูเปอร์ไบค์ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

1975 Daytona 200 winner

ในปี 1975 Daytona และ Ontario ได้ทำการเพิ่มการแข่งขันรถในคลาส Superbike Production ในตารางการแข่งขัน เพราะทาง AMA ไม่สามารถนิ่งเฉยต่อความนิยมที่เพิ่มขึ้นของคลาสนี้ได้อีกต่อไป

ด้วยการแข่งขันที่มีความตื่นเต้น เร้าใจ ทำให้มีการรายงานข่าวอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องมากยิ่งขึ้นของการแข่งขัน AMA Superbike ในนิตยสาร Cycle News อย่างต่อเนื่อง ทำให้ คุก นีลสัน และ ฟิล ชิลลิง บรรรณาธิการของ Cycle News นิตยสาร มีบทบาทสำคัญในการสร้างฐานแฟนคลับจำนวนมากให้กับคลาสการแข่งรถบนถนนรูปแบบใหม่นี้

ค่ายรถยุโรป VS ญี่ปุ่น

รถมอเตอร์ไซค์สำหรับการแข่งขันจากแดนซามูไรอย่าง ‘ประเทศญี่ปุ่น’ มักจะมีจุดเด่นในด้านของพละกำลังเพราะมีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ และมีหลายสูบ แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของการควบคุม ซึ่งตรงจุดนี้เป็นข้อได้เปรียบที่มอเตอร์ไซค์ยุโรปจริงที่มีกำลังน้อยกว่า แต่มีเสถียรภาพในการควบคุมมากกว่าอย่าง BMW R90S, Ducati 750SS และ Moto Guzzi 850 Le Mans

BMW R90S
Ducati 750SS
Moto Guzzi 850 Le Mans   

รถมอเตอร์ไซค์จากค่ายยุโรปทั้ง 3 คันที่กล่าวไป มีข้อได้เปรียบในเรื่องของการเข้าโค้ง จึงทำให้การแข่งขันมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการดวลกันระหว่างพละกำลัง และการควบคุมรถ มอเตอร์ไซค์จากยุโรปจึงชนะทุกการแข่งขันในปี 1976 และครึ่งปีแรกของปี 1977 เพราะในช่วงเดือนสิงหาคมปี 1977 เร็ก พริดมอร์ ก็ขี่ Kawasaki KZ1000 ที่ปรับแต่งโดย ปิแอร์ เด โรชส์ จากทีม Race crafters คว้าชัยชนะที่สนาม Pocono หยุดสถิติความพ่ายแพ้ของรถญี่ปุ่ที่มีต่อรถทางฝั่งยุโรป

Reg Pridmore กับ Kawasaki KZ1000

เมื่อรถจากทางฝั่งญี่ปุ่นสามารถต่อกรกับทางฝั่งยุโรปได้อย่างสูสีมากขึ้น ทาง Suzuki จากค่ายญี่ปุ่นเองก็ไม่รอช้า ทำการเปิดตัวรถในซีรีส์ GS ที่โดดเด่นในเรื่องของสมรรถนะที่มีพละกำลังมหาศาล และการควบคุมที่ยอดเยี่ยม เฟรมรถ และระบบกันสะเทือนถูกออกแบบให้มีความเสถียรมากยิ่งขึ้น โดยมี Wes Cooley (เวส คูลีย์) เป็นนักขี่ของรถคันนี้ 

Rich Schlachter

ในปี 1979 เมื่อ ริช ชแลชเตอร์ ชนะการแข่งขันที่ Loudon ด้วย Ducati ที่สร้างโดย จอร์จ วินเซนซี การคว้าชัยชนะในครั้งนั้นถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคซูเปอร์ไบค์จากยุโรป เพราะเป็นรถที่ผลิตจากยุโรปคันสุดท้ายที่ชนะการแข่งขัน AMA Superbike จนกระทั่งระยะเวลาผ่านไปเป็นเวลา 13 ปี ในปี 1992 ดั๊ก โพลเลน ได้นำ Ferracci Ducati กลับมายืนบนโพเดียมอีกครั้งที่สนาม Laguna Seca

ยักษ์ใหญ่ Honda ร่วมลงแข่งขัน

Honda CB750F 1980-1982

ในช่วงสี่ปีแรกของการแข่งขัน AMA Superbike ณ ช่วงเวลานั้นทางฮอนด้ายังคงสนับสนุน AMA Formula One แต่เมื่อกระแสเริ่มเปลี่ยนไปในปี 1980 เมื่อโรงงาน Honda เข้าร่วมแข่งรายการซูเปอร์ไบค์ โดยมีนักแข่งดาวรุ่งอย่าง เฟรดดี้ สเปนเซอร์ แม้ว่าในที่สุดสเปนเซอร์จะไม่สามารถคว้าแชมป์ แต่การเข้าร่วมของนักแข่ง รวมถึงการมีส่วนร่วมของ Honda และกระแสสื่อที่ตามมา ได้ปูทางให้ซูเปอร์ไบค์เข้ามาแทนที่ความนิยมของ Formula One และในเวลาไม่นานก็กลายมาเป็นคลาสหลักของการแข่งขันบนถนนของ AMA ถัดมาในช่วงปี 1983 ทาง AMA ได้ตระหนักว่าพละกำลังของรถ 1000 ซีซี นั้นมีพละกำลังเกินกว่ากว่าประสิทธิภาพของยางที่จะรับไหว จึงได้เปลี่ยนกฎจากเครื่องยนต์ขนาด 1000 ซีซี เป็น 750 ซีซี สำหรับรถหลายสูบ (ในขณะที่รถสองสูบยังคงได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ 1000 ซีซี) รถซูเปอร์ไบค์จึงใช้เครื่องยนต์ขนาด 750 ซีซี จนถึงปี 2003

Fred Merkel

ในช่วงปีแรกของการแข่งรายการ AMA Superbike ความสนใจของผู้คนส่วนใหญ่มีแค่เพียง BMW, Suzuki และ Kawasaki ต้องใช้เวลาในหลายฤดูกาลกว่า Honda จะเริ่มต้นเข้าครองใจแฟน ๆ จนระยะเวลาเดินทางมาถึงช่วงกลางยุค 1980 ถือเป็นช่วงเวลาที่ Honda แทบจะครองการแข่งขันทั้งหมด โดยชนะการแข่งขัน AMA Superbike ต่อเนื่องกันถึง 5 ปีด้วยนักแข่งอย่าง เฟร็ด เมอร์เคิล, เวย์น เรนนีย์ และ บับบา โชเบิร์ต ระหว่างปี 1984 ถึง 1988

Honda RC30

ในปี 1986 เฟร็ด เมอร์เคิล กลายเป็นนักแข่งคนแรกที่ชนะการแข่งขันถึง 20 ครั้ง อีกทั้งเมอร์เคิลยังสร้างชื่อเสียงให้กับ AMA Superbike ในระดับโลกด้วยการคว้าแชมป์ Superbike World Championship ถึงสองครั้งซ้อนในปี 1988 และ 1989 โดยสถิติการชนะ 20 ครั้งของเมอร์เคิลกลายเป็นสถิติของ AMA Superbike ที่ครองแชมป์ยาวนานถึง 12 ปีก่อนที่ มิเกล ดูฮาเมล นักแข่งชาวแคนาดาจะทำลายสถิติผู้เอาชนะสูงสุดของรายการ AMA Superbike ในปี 1998 โดยทั้ง ดูฮาเมล และเมอร์เคิล ทั้งคู่ต่างเป็นนักแข่งให้กับทีมของ Honda

MotoAmerica จุดสูงสุดของความนิยม

ช่วงกลางยุค 90 ถึงช่วงยุค 2000 การแข่งขันได้รับความนิยมอย่างมาก

ก่อนถึงช่วงกลางยุคปี 1990 การแข่งขัน AMA Superbike เพียงบางรายการเท่านั้นที่ถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์ แต่ด้วยการเติบโตของเคเบิลทีวี และช่องอย่าง ESPN, TNN และ Speed vision ทำให้การแข่งขันถูกถ่ายทอดมากยิ่งขึ้น จนถึงช่วงกลางยุค 90 ที่การแข่งขันได้ออกอากาศเต็มเวลา ประกอบกับยอดขายมอเตอร์ไซค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปลายยุค 1990 ทำให้ผู้ผลิตมีงบประมาณมากพอในการลงทุน สำหรับช่วงประมาณ 10 ปี ตั้งแต่กลางยุค 1990 ถึงกลางยุค 2000 การแข่งขัน AMA Superbike ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของความนิยม

Harley-Davidson

ช่วงเวลานี้ยังถือว่าเป็นช่วงที่มีความเท่าเทียมกันอย่างไม่เคยมีมาก่อนในกีฬานี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวเกือบทุกผู้ผลิตที่เข้าร่วมประสบความสำเร็จ คว้าแชมป์ทั้ง Ducati, Honda, Kawasaki และ Suzuki รวมถึงผู้ผลิตชาวอเมริกันอย่าง Harley-Davidson ก็เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกเช่นกัน Harley คว้าตำแหน่งโพลได้กับ คริส คาร์ เป็นผู้นำในการแข่งขันร่วมกับ ดูฮาเมล และเกือบคว้าชัยชนะได้หลายครั้ง

เหตุการณ์สำคัญในยุคนี้รวมถึง ดั๊ก แชนด์เลอร์ ที่คว้าแชมป์ AMA Superbike ได้ 3 สมัยในปี 1997 ทำให้เทียบเท่ากับ เร็ก พริดมอร์ และการสร้างสถิติชนะติดต่อกันของ ดูฮาเมล ซึ่งทำให้เขากลายเป็นนักแข่งที่ชนะมากที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน อีกทั้งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคที่ แมท มลาดิน ครองความยิ่งใหญ่ และ นิคกี้ เฮย์เดน ซึ่งต่อมากลายเป็นแชมป์ MotoGP ได้กลายเป็นแชมป์ AMA Superbike ที่อายุน้อยที่สุดในปี 2002″

ช่วงของการแข่งขัน

AMA Superbike 1980

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การแข่งขัน AMA Superbike เป็นที่รู้จักมายาวนานในเรื่องการแข่งขันคู่ปรับที่ร้อนแรงระหว่างนักแข่งและผู้ผลิตรถ คู่แข่งสำคัญกลุ่มแรก ๆ ได้แก่ เวส คูลีย์, เฟรดดี้ สเปนเซอร์ และ เอ็ดดี้ ลอว์สัน ฤดูกาลปี 1980 ได้เห็นการต่อสู้ที่ดุเดือดระหว่างทั้งสามคน ฤดูกาลจบลงโดยที่คูลีย์คว้าแชมป์ไปได้ด้วยวิธีที่มีการโต้เถียงมากมาย โดยมีการประท้วงและการตอบโต้ระหว่างทีมซูเปอร์ไบค์ของ Kawasaki และ Suzuki คูลีย์ต้องรอถึงสองเดือนหลังจบฤดูกาลก่อนจะได้รับการยืนยันว่าเป็นแชมป์ในที่สุด

Eddie Lawson

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 เป็นช่วงที่เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่าง Kawasaki และ Honda โดย Kawasaki ถูกเปรียบเสมือนดาวิดที่ต่อสู้กับยักษ์โกไลแอธของ Honda อย่างน่าทึ่ง Kawasaki สามารถเอาชนะได้ถึงสามปีติดต่อกันด้วยความสามารถของ Eddie Lawson และนักแข่งรุ่นใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง Wayne Rainey รวมถึงทักษะการปรับแต่งเครื่องยนต์ของ Rob Muzzy

ไม่กี่ปีต่อมา Rainey ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันที่อาจจะเป็นคู่แข่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ของรายการ เมื่อในปี 1987 เขาเอาชนะคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Kevin Schwantz หลังจากการต่อสู้ที่ดุเดือดที่สุดที่แฟน ๆ ของรายการเคยได้เห็น การแข่งขันที่ปกติเป็นไปด้วยความเป็นมิตรระหว่างผู้ผลิตญี่ปุ่นนั้นกลับถูกทิ้งไปในปีนั้น เมื่อเกิดการประท้วงและโต้แย้งกันระหว่าง Honda และ Suzuki สิ่งที่ทำให้การแข่งขันระหว่าง Rainey และ Schwantz ยิ่งยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีกก็คือ พวกเขาได้สานต่อการแข่งขันนี้ในรายการ Grand Prix อีกด้วย

Mat Mladin คนกลาง

การแข่งขันที่อาจจะเป็นที่ถกเถียงมากที่สุดเกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ระหว่างเพื่อนร่วมทีม Yoshimura Suzuki อย่าง Mat Mladin และ Ben Spies หลังจากเกือบสิบปีที่ Mladin ครองแชมป์เป็นส่วนใหญ่ Spies นักแข่งรุ่นเยาว์ได้ยุติยุคของ Mladin ด้วยการคว้าแชมป์ในปี 2006 นั่นได้นำไปสู่การต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ที่ Mladin พยายามจะคว้าแชมป์คืนจากเพื่อนร่วมทีมที่อายุน้อยกว่า แต่ไม่ประสบความสำเร็จในสองสามฤดูกาลถัดมา บรรยากาศเต็มไปด้วยความตึงเครียดในหลายการแถลงข่าวหลังการแข่งขัน Spies ยังคงก้าวต่อไปจนคว้าแชมป์ World Superbike ตามรอยนักแข่งชาวอเมริกันคนอื่น ๆ ที่เคยคว้าแชมป์โลก เช่น Merkel, Doug Polen, Scott Russell, John Kocinski และ Colin Edwards Spies มักยกเครดิตให้กับการแข่งขันที่ดุเดือดกับ Mladin ว่าเป็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับการก้าวขึ้นสู่เวทีระดับโลก

ยุคสมัยของ AMA Superbike

AMA Superbike

ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของการแข่งขัน AMA Superbike ได้รับการรับรอง และบริหารโดย American Motorcyclist Association ในรัฐโอไฮโอ จนในปี 2007 AMA Pro Racing ถูกขายให้กับ Daytona Motorsports Group (DMG) ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับ AMA Superbike เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง แม้ว่าการมีส่วนร่วมของโรงงานผลิต และความสนใจของแฟน ๆ จะลดลง แต่การแข่งขันก็ยังคงดุเดือด โดย Josh Hayes จาก Yamaha กลายเป็นนักแข่งที่โดดเด่นในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ 2010

Josh Hayes (ชายที่ถือป้ายหมายเลข 1)

ในช่วงทศวรรษ 2010 ถือได้ว่าเป็นยุคทองของ Yamaha เพราะสามารถครองแชมป์ได้ถึง 9 ครั้ง โดย Josh Hayes คว้าแชมป์ 4 สมัย, Josh Herrin ได้ 1 สมัย และ Cameron Beaubier คว้าแชมป์ 4 สมัย ซึ่งในช่วงที่ Yamaha ไม่ได้แชมป์ในทศวรรษ 2010 เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อ Toni Elias จากทีม Yoshimura Suzuki คว้าแชมป์ในปี 2017

MotoAmerica เทคโอเวอร์ เข้าบริหาร

MotoAmerica เข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ

ในช่วงฤดูกาล 2015 ถือเป็นยุคใหม่ในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน American Superbike เมื่อ MotoAmerica เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้จัดการแข่งขันแทน ภายใต้การรับรองของ American Motorcyclist Association (AMA) และ Fédération Internationale de Motocyclisme (FIM)

Wayne Rainey อดีตแชมป์ AMA Superbike 2 สมัย

MotoAmerica ดำเนินงานโดยกลุ่มผู้ทุนที่หลงใหล และนักธุรกิจที่มีรากฐานลึกซึ้งในวงการแข่งรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งหนึ่งในผู้นำได้แก่ Wayne Rainey แชมป์โลก Grand Prix สามสมัย และแชมป์รายการ AMA Superbike สองสมัย Rainey เป็นส่วนหนึ่งของ KRAVE Group ซึ่งประกอบด้วยพันธมิตรอีกสามคน ได้แก่ Chuck Aksland อดีตนักแข่ง อดีตรองประธานฝ่ายปฏิบัติการมอเตอร์สปอร์ตของ Circuit of The Americas (COTA) และอดีตกรรมการผู้จัดการของ Team Roberts ในการแข่งขัน Grand Prix World Championship Terry Karges ผู้อำนวยการบริหารของ Petersen Automotive Museum และ Richard Varner นักลงทุน และนักธุรกิจในภาคพลังงาน

ภายใต้การบริหารของ MotoAmerica ทำให้การแข่งขันนี้ได้ฟื้นตัวจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ MotoAmerica ได้ลงนามในสัญญาการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ระดับประเทศกับ Fox Sports, NBC Sports Network และ MAVTV นอกจากนี้ พวกเขายังได้เปิดตัว MotoAmerica Live+ ซึ่งเป็นบริการสตรีมมิ่งของตัวเองอีกหนึ่งช่องทาง

MotoAmerica กับการก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่

ในปี 2020 การแข่งขัน Superbike เดินทางเข้าสู่ช่วงทศวรรษที่หก ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันดาวเด่นประจำการแข่งขันคือ Cameron Beaubier จากทีม Monster Energy Attack Performance YAMAHA ซึ่งเป็นแชมป์เก่าที่ต้องป้องกันตำแหน่งแชมป์จาก Toni Elias จากทีม M4 ECSTAR Suzuki ที่มีฟอร์มเด่นร้อนแรงประจำการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งการแข่งขันระหว่าง Beaubier และ Elias นั้นมีความดุเดือดในหลายครั้ง และกลายเป็นหนึ่งในคู่แข่งที่ดำเนินมายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของซีรีส์นี้

Cameron Beaubier แชมป์ 5 สมัยของรายการ Moto America

การคว้าแชมป์ในปี 2020 ของ Beaubier ทำให้เขาก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันรายการ MotoAmerica Superbike การคว้าแชมป์ในสมัยที่ห้าของเขาทำให้เขาแซงหน้าอดีตเพื่อนร่วมทีมอย่าง Josh Hayes ที่เคยคว้าแชมป์รายการนี้ได้ถึงสี่สมัย โดยการคว้าแชมป์ในหนนี้ของ Beaubier ทำให้เขาครองตำแหน่งการคว้าแชมป์มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ 45 ปีของซีรีส์นี้ โดยมีอันดับหนึ่งได้แก่ Mat Mladin ชาวออสเตรเลียที่ครองแชมป์มากที่สุดด้วยจำนวน 7 สมัย นอกจากนี้ Beaubier ยังไต่ขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในตารางสถิติผู้ชนะการแข่งขันตลอดกาล โดยสามารถครองอันดับสามด้วยการคว้าชัยชนะใน Superbike ได้ทั้งหมด 54 ครั้งตลอดอาชีพของเขา

Jake Gagne

Jake Gagne อดีตเพื่อนร่วมทีมแข่ง Yamaha ของ Beaubier เจ้าของแชมป์ในรายการ MotoAmerica Superstock 1000 ซึ่งในช่วงการแข่งขันก่อนฤดูกาล 2021 Gagne ไม่สามารถคว้าโทรฟี่การแข่งขันในรายการ MotoAmerica Superbike ได้เลย แต่อาถรรพ์ของตัวเขากับการแข่งขันในรายการนี้ก็ได้ถูกทำลายลงไป เพราะในการแข่งขันครั้งที่สองที่ Michelin Raceway Road Atlanta ซึ่งในสนามดังกล่าวเป็นการแข่งขันรอบแรกของการแข่งขันในปี 2021 Gagne ไม่เพียงแค่ชนะการแข่งขันนี้ แต่ยังสามารถคว้าชัยชนะได้ถึง 17 ครั้งตลอดฤดูกาลซึ่งเป็นสถิติใหม่ รวมถึงการชนะติดต่อกันถึง 16 ครั้ง ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในการแข่งขันรายการนี้ และสามารถคว้าแชมป์รายการ MotoAmerica Superbike ประจำปี 2021 ได้สำเร็จ

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Exit mobile version