Home MOTOGP เจาะลึก กติกาทางเทคนิค MotoGP ปี 2027 ปรับอะไรบ้าง ไปดู

เจาะลึก กติกาทางเทคนิค MotoGP ปี 2027 ปรับอะไรบ้าง ไปดู

0
เจาะลึก กติกาทางเทคนิค MotoGP ปี 2027 ปรับอะไรบ้าง ไปดู

เจาะลึก กติกาทางเทคนิค MotoGP ปี 2027 ปรับอะไรบ้าง ไปดู

แฟน ๆ มอเตอร์สปอร์ตหลาย ๆ คนน่าจะได้รับรู้ข่าวสารเรื่องการปรับเปลี่ยนกติกาทางเทคนิคเกี่ยวกับรถแข่งในรายการ MotoGP กันไปแล้ว มาวันนี้เราจะไป เจาะลึก กติกาทางเทคนิค MotoGP ปี 2027 กันครับว่ามีอะไรบ้าง

– เครื่องยนต์ในคลาส MotoGP จะถูกลดขนาดความจุลงเหลือเพียง 850 ซีซี โดยขนาดกระบอกสูบจะลดจาก 81 ม.ม.เหลือเพียง 75 ม.ม. โดยจะต้องเป็นเครื่องยนต์ 4 สูบและ 4 จังหวะเช่นเดิม

– ค่ายผู้ผลิตที่ลงแข่งในปี 2026 จะเริ่มต้นฤดูกาล 2027 ในแรงค์ B ซึ่งแรงค์ดังกล่าวจะมีการปรับเปลี่ยนอีกในช่วงกลางฤดูกาล 2027 โดยอิงจากผลงานในช่วงแรกของฤดูกาล 2027 เพียงอย่างเดียว ผลงานก่อนหน้านี้ไม่นับ และแรงค์ปกติจะกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากจบฤดูกาล 2027 ส่วนค่ายรถใดที่ไม่ได้ทำการแข่งขันในปี 2026 แต่เริ่มแข่งในปี 2027 จะนับเป็นแรงค์ D และจะมีการปรับเปลี่ยนแรงค์อีกครั้งแบบเดียวกันนี้

– จำนวนเครื่องยนต์สำหรับนักแข่งที่เซ็นสัญญายาวจะถูกลดเหลือเพียง 6 เครื่องต่อ 1 ฤดูกาลในกรณีที่การแข่งมีทั้งหมด 20 สนาม และเป็น 7 เครื่องในกรณีมีการแข่งทั้งหมด 21 – 22 สนาม

– ค่ายรถที่อยู่ในแรงค์ D จะมีสิทธิ์พิเศษ ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ได้มากขึ้น 2 เครื่องต่อ 1 ฤดูกาล ต่อนักแข่ง 1 คน

– ทุกทีมจะสามารถเข้าถึงข้อมูล GPS ของนักแข่งทุกคนได้เมื่อจบเซสชันแต่ละเซสชัน

– ในพิกัด MotoGP จะถูกปรับลดเรื่องจำนวนอัตราทดเกียร์ได้ไม่เกิน 16 ชุดจากเดิม 24 ชุด (อัตราทดเกียร์ทั้งหมด 6 เกียร์ ใช้ชุดเฟืองเกียร์ทั้งหมด 6 ชุด ดังนั้นจะต้องเลือกใช้ชุดอัตราทดเกียร์อย่างชาญฉลาดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกับทุก ๆ สนาม เพราะถูกจำกัดจำนวน) บวกกับเฟืองเพลาขับได้อีก 4 ชุดต่อ 1 ฤดูกาล

– น้ำหนักรถขั้นต่ำจากเดิมจะต้องไม่เบาไปกว่า 157 กิโลกรัมจะกลายเป็น ไม่เบาไปกว่า 153 กิโลกรัมแทน

– ไม่อนุญาตเรื่องอุปกรณ์ปรับความสูงของตัวรถอีกต่อไป (Ride Height Device) รวมถึงอุปกรณ์ช่วยออกตัวที่จะทำงานตอนเริ่มการแข่งขันด้วย (Holeshot Device)

– มีการลดความจุของถังน้ำมันลงเหลือ 20 ลิตรสำหรับการแข่งขันปกติ และเติมน้ำมันได้แค่ 11 ลิตรสำหรับการแข่งสปรินต์เรซ

 

– จำกัดเรื่องความกว้างของแฟริ่งแอโรด้านหน้าหรือวิงเล็ตด้านหน้าเหลือ 550 ม.ม.จากเดิม 600 ม.ม. หรือแคบลง 5 ซม.นั่นเอง จำกัดเรื่องความสูงของด้านท้ายรถเหลือ 1,150 ม.ม.จากเดิม 1,250 ม.ม.หรือท้ายรถเตี้ยลง 10 ซม. จำกัดเรื่องส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้าสุด (จมูกแฟริ่งหน้า) ให้สั้นลง 50 ม.ม. นอกจากนี้ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับแอโรไดนามิกส์ที่อยู่ด้านหลังนักแข่ง หรือวิงก์เล็ตที่ด้านท้าย จะต้องยื่นขอรับรองว่าเป็นชิ้นส่วนนึงของแอโรบอดี้ก่อน และจะอนุญาตให้มีการอัปเดตได้เพียงแค่ 1 ครั้งต่อฤดูกาลเท่านั้น

– น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จะต้องเป็นน้ำมันที่ไม่ได้มาจากฟอสซิล หรือก็คือต้องใช้น้ำมันแบบยั่งยืนที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการขุดเจาะแล้วมากลั่นแบบที่เราใช้กันปกติในทุกวันนี้นั้นเอง อาจจะเป็นน้ำมันไบโอฟิว หรือไม่ก็เป็นน้ำมันสังเคราะห์ โดยผู้สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องชี้แจงรายละเอียดทางเทคนิคทั้งหมดในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับ TWG1 ที่เป็นผู้รับผิดชอบและชี้แจงกับตัวแทนของทาง Dorna และทีมงานที่เกี่ยวข้องด้วย

ก็เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ จุด โดยเฉพาะเรื่องของตัวรถ ซึ่งทางดอร์น่าเองระบุว่าเพื่อความปลอดภัย ความสนุกสนาน ความตื่นเต้นเร้าใจจากการที่การแข่งขันจะแซงกันได้ง่ายขึ้น สูสีกันมากขึ้น ใกล้เคียงกับรถทั่วไปมากขึ้น และนี่ถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับเปลี่ยนแปลงวงการเลยทีเดียว ซึ่งอนาคตก็อาจจะส่งผลต่อรถบ้าน ๆ หรือรถโปรดักชันด้วยอย่างแน่นอนทีเดียวครับ ซึ่งก็คงอีกหลายปีทีเดียว หรืออนาคตอาจจะเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าแทนไปเลยก็ได้ ถ้าเทคโนโลยีแบตเตอรี่มันพัฒนาได้เร็วจนสามารถทำระยะทางได้ไกล ชาร์จได้เร็ว โดยที่แบตเตอรี่ไม่ได้มีขนาดใหญ่จนเกินไป จุดนั้นโลกก็จะเปลี่ยนอีกแน่นอนครับ

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Exit mobile version