รถแข่ง KTM ใน MotoGP ทำไมถึงได้ใช้ช่วงล่างต่างจากค่ายอื่น

รถแข่ง KTM ใน MotoGP ทำไมถึงได้ใช้ช่วงล่างต่างจากค่ายอื่น

รถแข่ง KTM

นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันในศึก MotoGP ค่ายรถสีส้มสัญชาติออสเตรียอย่าง KTM ก็มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเลือกใช้งานชิ้นส่วนทางเทคนิคอยู่เสมอ เพราะเลือกใช้สิ่งที่ต่างออกไปจากค่ายรถอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของแชสซีและระบบกันสะเทือน คำตอบสั้นๆ คือเขายึดมั่นในหลักปรัชญาของแบรนด์ที่เป็นจุดกำเนิดของรถมอเตอร์ไซค์ทุกคันในค่าย ไม่ว่าจะเป็นรถโปรดักชั่นหรือรถแข่ง โดยเขาเลือกใช้แต่เฟรมเหล็กกล้าและระบบกันสะเทือนจากทาง WP ซึ่งเป็นแบรนด์ของพวกเขาเสมอ

 

แล้วคำอธิบายยาวๆ ล่ะ ก็อ่านกันต่อด้านล่างได้เลยครับ

Marc Marquez

คนที่ใส่ใจในมอเตอร์สปอร์ตจะจำได้ว่า KTM นั้นเข้าแข่งขันในศึกชิงแชมป์โลกมาตั้งแต่ต้นยุค 2000 แล้ว โดยมีรถแข่งในพิกัด 125 ซีซีและ 250 ซีซีแบบ 2 จังหวะ โดยรถ 125 ซีซีนั้นเคยมี Marc Marquez ควบลงแข่งให้ด้วย ในขณะที่พิกัด 2 สูบ 250 ซีซีนั้น เป็น Mika Kallio ที่การแข่งขันในปี 2008 ด้วยอันดับที่ 3 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ Marco Simoncelli คว้าแชมป์ด้วยรถ Gilera/Aprilia

ย้อนกลับไปตอนนั้นรถแข่งทั้ง 2 พิกัดใช้เฟรมอะลูมิเนียมอัลลอยเหมือนคันอื่นๆ ที่ลงแข่งในรุ่นเดียวกัน ซึ่งจริงๆ แล้วพวกมันไม่ใช่รถ KTM แท้ๆ เพราะมันถูกผลิตและพัฒนาโดย Harald Bartol ที่เคยทำงานให้กับ Yamaha และ Gilera ด้วย

Mika Kallio

และเมื่อมีการแข่งขันด้วยรถ 4 จังหวะในศึงชิงแชมป์โลกในรุ่นที่รองลงมาด้วย KTM ก็ตัดสินใจว่าตั้งแต่ปี 2012 พวกเขาจะลงแข่งด้วยรถที่สร้างจากทีมงานภายใน KTM เอง โดยมี Pit Beirer อดีตนักแข่ง MX มาช่วยวางโครงสร้างให้ และที่คุณเห็นว่ารถแข่ง Moto2 ที่เป็นแบรนด์ KTM นั้นใช้เฟรมอลูมิเนียมนั้นก็มีเหตุเป็นเพราะว่าเฟรมที่ใช้เป็นของ Kalex และ KTM ตัดสินใจที่จะไม่ผลิตเฟรมให้กับรถแข่งในรุ่นนี้

รถแข่ง KTM
Brad Binder

ซึ่งในจุดนี้ก็เป็นที่วิจารณ์กันในแง่ลบอย่างมาก ตอนที่ KTM มีทีมโรงงานเข้าแข่งขันในคลาสรองแบบนี้ จากการที่ KTM พัฒนารถของตัวเองในแบบที่ซับซ้อน และไม่ยอมรับโอกาสที่จะได้แข่งกับคู่แข่งด้วยรถที่มีอุปกรณ์ที่ทัดเทียมกัน แต่เรื่องนี้มีคำอธิบายเพราะในส่วนของเฟรมนั้น เฟรมแบบเหล็กกล้านั้นง่ายต่อการทำงานด้วยมากกว่า และสองฤดูกาลล่าสุด KTM ก็ได้จ้างช่างเทคนิคจาก Ohlins มาหลายคน และมาช่วยพัฒนาโช้คและระบบกันสะบัดของพวกเขา จนเข้าใจว่าระบบกันสะเทือนที่ดีนั้นต้องเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร

ปีนี้ KTM ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าพวกเขาค้นพบสูตรการเซ็ตรถที่ดีเพียงพอที่จะทำให้พวกเขาคว้าชัยชนะมาได้ถึง 2 ครั้งจากการแข่งขันที่ Brno และออสเตรีย จากฝีมือของสองนักแข่งหนุ่มที่หลายๆ คนคิดว่าพวกเขายังไม่พร้อมจะขึ้นมายืนบนแถวหน้าของโพเดียม

สรุปว่าการเลือกใช้ช่วงล่างและระบบกันสะเทือนที่ต่างไปจากค่ายอื่นทำให้ รถแข่ง KTM คว้าชัยในศึก MotoGP มาได้อย่างนั้นหรือ? คำตอบก็น่าจะออกมาว่า ไม่ แต่ทำไมล่ะ?

โช้คหน้าจาก WP

ก่อนอื่นต้องบอกให้ชัดเจนเลยว่าการที่จะชนะในศึก MotoGP ในยุคปัจจุบันนี้ชิ้นส่วนทุกอย่างในตัวรถจะต้องทำงานด้วยกันได้อย่างกลมกลืนทุกภาคส่วน ไม่ใช่ว่าทุ่มทุนไปแล้วจะได้อะไรที่เจ๋งออกมาง่ายๆ มันอาจจะทำให้รถไม่บาลานซ์หรือไม่สมดุลก็ได้ โดยเฉพาะกับยาง Michelin ที่อ่อนไหวมากๆ ด้วย หากว่าสามารถหาสูตรเซ็ตรถพื้นฐานที่ดีได้ และเริ่มต้นโชว์สมรรถนะของรถได้ดีตั้งแต่วันซ้อมในวันศุกร์ช่วงเช้าได้ เวลาส่วนใหญ่ที่เหลือก็สามารถที่จะเอาไปใส่ใจในเรื่องของยางได้มาก เป็นต้นว่าจะเลือกยางตัวไหนดี ต้องทำยังไงให้ยางมันทำหน้าที่ของมันได้ดี มาถึงจุดนี้การเลือกระบบกันสะเทือนหรือเลือกว่าจะใช้เฟรมที่ทำจากอะไรก็จะมีความสำคัญน้อยลงไป เว้นแต่ว่าจะมีผลต่อการปรับจูนรถ

ตอนนี้เองก็ดูเหมือนว่า KTM จะจัดการปัญหาเรื่องระบบกันสะเทือนของพวกเขาได้แล้ว ในอนาคต Honda เองอาจจะตัดสินใจทิ้ง Showa ไป แต่ KTM ยังคงเลือกที่จะใช้ WP ต่อไปแน่ เพราะมันกินเวลาหลายฤดูกาลอย่างแน่นอนกว่าที่จะลงตัว และไม่ใช่ว่าค่ายรถทุกค่ายจะสามารถจ่ายเงินพัฒนาใหม่ไหวและอาจจะทนรอให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ไหวอีกด้วย

 

ข้อดีข้อเสียของเฟรมเหล็กกล้า

เฟรมอลูมิเนียม

 

ในกรณีของเฟรมนั้นมันค่อนข้างจะซับซ้อน แชสซีของรถแข่งนั้นออกแบบมาให้แข็งแรงและแม่นยำ ซึ่งในแง่นี้เฟรมเหล็กกล้าต่างจากอลูมิเนียมอัลลอยอย่างมาก เหล็กกล้านั้นมีค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมากกว่าอลูมิเนียมถึงเกือบ 3 เท่า (แม้จะหนักกว่า แต่แข็งแรงกว่ามาก) ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเฟรมเหล็กกล้าจึงมีลักษณะเล็กกว่าเฟรมอลิเนียมอยู่มาก ขณะที่ความแข็งแรงเชิงโครงสร้างนั้นใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ดีเฟรมทั้งสองรูปแบบนี้สามารถออกแบบและสร้างออกมาให้ได้ผลแบบเดียวกันได้ แต่ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป

เฟรมเหล็กหน้านั้นผลิตขึ้นง่ายกว่า ถูกกว่า ช่วยให้วิจัยและพัฒนาความแข็งแรงได้รวดเร็วกว่า เป็นต้นว่าเปลี่ยนความหนาของเหล็กกล้าก็มีผลลัพธ์ที่แตกต่างแล้ว

ขณะที่เฟรมแบบอลูมิเนียมนั้นซับซ้อนกว่ามาก ยากต่อการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ในการขึ้นรูป ขั้นตอนการเชื่อมมันติดเข้าด้วยกัน การพัฒนาจึงต้องทุ่มเทกำลังงานและเวลาไปมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามด้วยการที่มันมีค่ามอดูลัสยืดหยุ่นที่น้อยกว่าเหล็ก ทำให้มันมีการคลาดเคลื่อนในเชิงโครงสร้างน้อยกว่ามาก จึงมีความแม่นยำสูงมากเฟรมอลูมิเนียมที่นำมาใช้ในทีมแข่งจึงใกล้เคียงกันมาก ทำให้ง่ายต่อการปรับเซ็ตรถในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่มีการแข่งขัน

เฟรมเหล็กกล้า

ปีที่แล้ว KTM มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเฟรมไปขนานใหญ่ มีการดัดแปลงเฟรมที่ใช้ในรถโมโตครอสและมีการวางบีมเหล็กกล้าในลักษณะแนวทแยงมุม ซึ่งทดสอบแล้วว่าทำงานร่วมกันกับสวิงอาร์มคาร์บอนได้เป็นอย่างดี สามารถให้ความแข็งแรงที่เหมาะสมเพียงพอที่จะรีดสมรรถนะจากยาง Michelin ออกมาได้ ส่วนที่เหลือต้องขอบคุณ Dani Pedrosa ที่ทำงานอยู่ในทีมทดสอบและทีมพัฒนาเครื่องยนต์

เรียกได้ว่าขนาดจะพัฒนาเฟรม KTM ก็เลือกเดินทางที่แตกต่าง อย่างไรก็ตามเราได้เห็นถึงศักยภาพของแผนกเรซซิ่งของ KTM ว่ายิ่งใหญ่ทั้งในแง่ของการทุ่มทุนและการสนับสนุน ซึ่งช่วยให้เขามาถึงระดับแนวหน้าของ MotoGP ได้อย่างทุกวันนี้

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

 

- Advertisement -

บทความยอดนิยม