spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

ย้อนอดีตเครื่องสองสูบ

เครื่องยนต์วีทวิน 8 วาล์วระบายความร้อนด้วยน้ำของ Ducati ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนานจนดูเหมือนว่าจะไม่มีจุดจบ แต่ชื่อ Final Edition ที่พิมพ์ลงบนแฟริ่งสีแดง ขาวและเขียวก็เป็นการคอนเฟิร์มเรื่องจุดสิ้นสุดแล้ว 1299 Panigale R Final Edition จะเป็นเรือธงวีทวินรุ่นสุดท้ายจากโรงงานในเมือง Bologna แล้ว

ในเดือนพฤศจิกายนที่งาน EICMA ในเมืองมิลาน Ducati จะเผยโฉมเครื่องยนต์ V4 ตัวใหม่ และจะไม่ผลิตอย่างจำนวนจำกัดอย่างเจ้า Desmosedici RR เมื่อทศวรรษที่แล้ว เครื่อง V4 นี้จะถูกใช้ในสปอร์ตไบค์ตัวท็อปของทางค่ายทั้งหมด ปิดฉากยุคของเครื่องยนต์วีทวิน 8 วาล์วระบายความร้อนด้วยน้ำที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1988 ด้วยเจ้า 851 ลงเครื่องยนต์วีทวินนี้ได้อยู่คู่กับ Ducati มาเกือบๆ 3 ทศวรรษ ตั้งแต่เจ้า 851 จนถึง 1299 เลยทีเดียว เจ้าเครื่องวีทวิน 8 วาล์วนี้สร้างชื่อเสียงให้กับมานาน คว้าแชมป์โลก World Superbike มา 14 สมัยและแชมป์ประเภทโรงงานอีก 15 สมัย กับชัยชนะนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งในรายการระดับชาติและรางวัลด้านการออกแบบรวมถึงรางวัล Bike of the Year อีกมากมาย

แน่นอนว่ามี Ducati รุ่นอื่นๆ ที่สำคัญด้วยเช่น Monster และ Multistrada และแม้แต่กระทั่ง Scramblers แต่เป็นซูเปอร์ไบค์ที่ใช้เครื่องวีทวิน 8 วาล์วที่นำพา Ducati มาสู่โลกสมัยใหม่และโดดเด่นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จนกระทั่งกลายเป็นแบรนด์ที่ดีไซน์หรูหรา เทคโนโลยีล้ำสมัยและมีเกียรติยศจากสนามแข่งอนาคตของ Ducati ในปี 1985 นั้นดูมืดมน เมื่อทางค่ายถูก Claudio และ Gianfranco Castiglioni เจ้าของ Cagiva ที่ผลิตรถขนาดเล็กในเมือง Varese ซื้อไป แต่ชื่อเสียงของ Ducati ได้ถูกสร้างขึ้นโดยเครื่องยนต์วีทวินรวมถึงเจ้า 900SS และ Mike Hailwood ที่เอาชนะการแข่ง TT ได้ในปี 1978 แต่ในปี 1985 รถที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศนั้นกลับล้าสมัยไปแล้ว การลงทุนจากเจ้าของคนเก่าอย่าง VM Group ก็ลดน้อยลง และปีถัดมาก็มีการลดกำลังการผลิตลงจนกระทั่งมีการผลิตรถเพียงแค่ 1,765 คันเท่านั้น

สินทรัพย์ที่เหลือของ Ducati คือวิศวกรหนุ่มนามว่า Massimo Bordi หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาเครื่องยนต์ Bordi ได้เข้าทำงานในบริษัทโดยตรงหลังจากจบมหาวิทยาลัย Bologna University ซึ่งเขาทำวิทยาพนธ์ในหัวข้อฝาสูบ 4 วาล์วแบบเดสโมโดรมิก ซึ่งรวมเอาข้อดีของระบบวาล์วแบบปิดที่ประสบความสำเร็จจากฝีมือของอดีตหัวหน้าวิศวกรระดับตำนานของ Ducati อย่าง Fabio Taglioni เข้ากับรูปแบบการจัดเรียงวาล์วหลายตัวของเครื่องยนต์รถแข่ง F1 ที่คว้าชัยมามากมายของ Cosworth

ตั้งแต่ที่เขาเข้าร่วมกับ Ducati นั้น Bordi ได้ถูกบังคับให้ใช้เวลาส่วนใหญ่ของเขากับเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับอุตสาหรกรรม และการพัฒนาเครื่องยนต์วีทวิน Pantah ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ เมื่อ Claudio Castiglioni หัวหน้าคนใหม่รีเควสต์ให้หาไอเดียทำเครื่องยนต์เจ็นใหม่ Bordi จึงแนะนำเครื่องยนต์วีทวินแบบ 8 วาล์วแบบเดสโมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากวิทยานิพนธ์ของเขา แต่พบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจาก Taglioni ซึ่งยังคงมีอิทธิพลที่ Ducati ตามคำบอกเล่าของ Bordi เขาบอกว่า Taglioni อิจฉากับไอเดียของเขาและบอกเขาว่า เครื่องยนต์นี้ผิดพลาด ปีหน้านายจะต้องโดนไล่ออกแน่ และฉันจะบอกว่าทำไมมันถึงผิดพลาดก่อนที่ตัวเขาเองจะเริ่มร่างเครื่องยนต์สี่สูบของเขาเองการต่อสู้ระหว่างวิศวกรทั้งสองคนนี้สำคัญกับ Ducati มากกว่าสิ่งอื่นใด และในที่สุดชายหนุ่มอายุน้อยกว่าก็เป็นผู้ชนะ ด้วยการหนุนหลังจาก Castiglioni เขาจึงเริ่มการพัฒนาเครื่องวีทวินสมรรถนะสูงที่ใช้ระบบหัวฉีดและระบายความร้อนด้วยน้ำ จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายนน 1986 ทีมเล็กๆ ของ Ducati ก็ได้สร้างโปรโตไทป์ขนาด 748 ซีซีขึ้นมาใส่กับแชสซี 750F1 ที่พวกเขาใช้ลงแข่งในศึก Bol d’Or 24 hours โดยมีคนขี่เป็นทีมรวมดาราได้แก่ Virginio Ferrari, Juan Garriga และอดีตแชมป์โลกรุ่น 500 ซีซีอย่าง Marco Lucchinelli

เครื่องวีทวินนี้เร็วมาก ผมเองก็อยู่ในการแข่งนั้นด้วยและจำตอนที่ Ferrari พุ่งพรวดมาหาผมตอนกลางดึกก่อนที่ผมจะเร่ง GSX-R750 แซง หลังจากแข่งไปได้ 15 ชม.ทีม Ducati ที่รั้งอยู่ที่อันดับ 7 ก็เจอกับปัญหาก้านสูบพังปิดฉากการเปิดตัวที่น่าทึ่งไปเสียก่อน หกเดือนต่อมาในเดือนมีนาคมปี 1987 เครื่องยนต์วีทวินนขยายขนาดเป็น 851 ซีซีและรีดแรงม้าได้ 120 ตัวโดยวัดจากล้อหลัง มากพอที่จะทำให้ Lucchinelli เอาชนะศึก Daytona Battle of the Twins ได้สบายๆ ในเดือนเมษษยนปีถัดมาค่ายรถอิตาลีค่ายนี้ก็ชนะในศึกที่ใหญ่ขึ้นอย่างการชนะการแข่งขันสนามแรกในศึก World Superbike ที่ Donington Park.

นอกจากนี้ในตอนนั้น Ducati ก็ได้เริ่มการผลิต 851 Strada สตรีทไบค์ และ 851 Superbike สำหรับใช้แข่งเพียงอย่างเดียว (ผลิตจำนวนน้อยและสเป็กสูงกว่า เป็นเครื่อง 888 ซีซีลายเดียวกันกับรถแข่งของ Lucchinelli ) ตัวโร้ดสเตอร์นนั้นเคลมว่าขับแรงม้าออกมาได้ 100 ตัวที่ 8,250 รอบ เครื่องยนต์เป็นสีดำวางคู่กับเฟรมถักโมลิบดีนั่มสีโครเมี่ยม น้ำหนักรถเปล่าอยู่ที่ 180 กก. แต่น่าแปลกที่มันมีล้อขนาด 16 นิ้วแทนที่จะเป็น 17 นิ้วเหมือนรถแข่งซูเปอร์ไบค์ที่มีเฟรมแบบเดียวกันเจ้า Strada ดูดี รูปทรงคล้ายกระเปาะเล็กน้อยด้วยแฟริ่งโค้งของมัน สีไตรคัลเลอร์และเบาะนั่งเดี่ยว เครื่องยนต์ยืนหยุ่น ระบบหัวฉีด Weber ทำงานได้ดี อัตราเร่งยอดเยี่ยม ถึงจะไม่ดีกว่าแต่ก็น่าจะทัดเทียมกับ Suzuki GSX-750 เนื่องจาก Ducati ทำท็อปสปีดได้ที่ราวๆ 220 กม./ชม. แต่ผมพบว่าการควบคุมของเจ้า 851 นั้นแปลกๆ มากก โดยเฉพาะเมื่อตอนที่ขี่ที่ความเร็วต่ำๆ

ตัวการคือล้อขนาด 16 นิ้ว ซึ่งตอนแรกนั้น Ducati เคลมมาว่าเกิดขึ้นจากการขาดยางเรเดียล 17 นิ้วจากทาง Michelin แม้ว่า Bimota YB4 เองก็ใช้ยางตัวเดียวกัน ต่อมา Bordi บอกกับผมว่า Marvic ที่เป็นซัพพลายเออร์ล้อนั้นผลิตได้ไม่เพียงพอ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลได้ การควบคุมที่ไม่ดีก็กลายเป็นเหตุผลนึงที่ทำให้เจ้า 851 เงียบกริบ อีกเหตุผลก็คือราคา เจ้า Strada ราคาแพงยิ่งกว่า Suzuki GSX-R1100 และ Yamaha FZR1000 รวมกันซะอีก Ducati ผลิตขึ้นมาเพียง 300 คันแต่ก็ยังต้องลดราคามันเพื่อขายมันออกไปแต่ Bordi นั้นเรียนรู้ได้เร็ว และปีต่อมา 851 ก็ได้รับการยกเครื่องใหม่ รูปลักษณ์ภายนอกก็ถูกทำให้เพรียวมากขึ้น ชุดสีแดงอิตาเลียนเรซซิ่งเรดแบบเดียวกันกับรถแข่งของ Lucchinelli แคมชาฟต์ใหม่ อัตราส่วนการอัดเพิ่มมากขึ้นและท่อไอเสียใหม่ช่วยให้แรงม้าขยับเป็น 104 ตัวและเพิ่มกำลังในรอบกลางอีกด้วย

และสิ่งที่เปลี่ยนไปมากที่สุดคือช่วงล่าง มีการปรับเปลี่ยนคอบังคับเลี้ยว โช้คหลัง Marzocchi  ที่ยาวขึ้นและที่สำคัญที่สุดคือล้อขนาด 17 นิ้ว ผลลัพธ์นั้นคือรถที่เร่งได้รวดเร็วมากทั้งยังควบคุมและเบรคได้เหมือนกันกับซูเปอร์ไบค์ เจ้า 851 ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้ว ยอดขายก็ดีขึ้น และเครื่องยนต์แบบ 8 วาล์วก็กลับมาผลิตต่อนั่นได้ผลกับการขี่บนแทร็กด้วย Raymond Roche และ Doug Polen คว้าแชมป์ World Superbike 3 สมัยรวดในช่วงต้นทศวรรษ 1990 นอกจากเจ้า 851 Strada แล้ว ทางโรงงานยังนำเวทย์มนต์บางอย่างจากรถแข่งมาใช้กับรถขี่ถนนด้วย โดยการใช้เครื่องยนต์ 888 SP (Sport Production) เริ่มต้นในปี 1990 ด้วยเจ้า SP2 ต่อมาปี 1992 ตระกูลนี้ก็ดำเนินมาจนถึง SP4 และในปีนั้นเองก็มีเจ้า 888SPS หรือ Sport Production Special) ที่เป็นโมเดลที่แพงสุดๆ และผลิตขึ้นเพียง 100 คันเท่านั้น

เจ้า SPS มาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 888 ซีซีพร้อมกับอัตราส่วนการอัดมากเป็นพิเศษ วาล์วขนาดใหญ่และแคมชาฟต์ที่ช่วยให้ได้แรงม้า 120 ตัวที่ล้อหลัง แชสซีของมันยิ่งดีกว่า ใช้ถังน้ำมันและแฟริ่งเคฟลาร์และคาร์บอนไฟเบอร์ และระบบกันสะเทือนจาก Ohlins ราคาของ SPS ทำเอาน้ำตาไหล แต่สำหรับช่วงต้นทศวรรษ 1990 นั้น ไม่มีใครเทียบมันได้จริงๆ สองปีต่อมา Ducati เพิ่มเดิมพันหวังแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดด้วยการวิธีที่แตกต่างออกไปด้วยเจ้า 916 ณ ตอนนั้น  Castiglioni ได้จ้าง Massimo Tamburini อดีตผู้ก่อตั้ง Bimota ซึ่งได้ก่อตั้งศูนย์วิจัย Cagiva Research Centre ที่เมืองSan Marino ใกล้กับบ้านเกิดของเขาใน Rimini ด้วยการออกแบบที่ยอดเยี่ยมและทีมเล็กๆ ของเขาได้สร้างรถที่สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับสตรีทไบค์ทั้งในเรื่องของสไตล์และสมรรถนะเจ้า 916 ได้ชื่อมาจากเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้นเป็น 916 ซีซีด้วยการมีช่วงชักที่ยาวขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามแรงม้านั้นก็เพิ่มขึ้นมาจากเครื่อง 888 ซีซีเพียงเล็กน้อยไปอยู่ที่ 114 ตัว แต่ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ส่วนใหญ่นั้นแทบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอื่นๆ ของรถนั้นใหม่ รวมไปถึงเฟรมถักโครโมลี่ด้วย โดยมีความแข็งแรงมากขึ้นพร้อมกับจุดยึดเครื่องยนต์ที่ด้านหลังที่เพิ่มเข้ามา

Tamburini และมือขวาของเขา Massimo Parenti ได้คิดว่าจะใช้เฟรมอลูมิเนียมในตอนแรก ก่อนที่จะตัดสินใจว่ามันไม่เหมาะกับแนวทางของ Ducati แทนที่พวกเขาจะผสมผสานเฟรมถักใหม่ของพวกเขาเข้ากับสวิงอาร์มเดี่ยวอลูมิเนียม ซึ่ง Tamburini ยอมรับว่าเลือกเพราะหน้าตาแทนที่จะเป็นความแข็งแรง สไตล์ของเจ้า 916 นั้นดีมากๆ ทั้งนี้ต้องยกให้งานแฟริ่งที่ลื่นไหลและเงางามบวกกับท่อไอเสียของมันหน้าตาดูเหมาะสมกันกับสมรรถนะของรถที่สามารถทำความเร็วได้เกินกว่า 240 กม./ชม. มีพละกำลังมากในช่วงรอบกลาง น้ำหนักก็เบามากๆ เพียง 195 กก. สามารถควบคุมได้ยอดเยี่ยม เสียงก็เร้าใจ (โดยเฉพาะเมื่อใส่ท่อ Termignoni ) ช่วยยกระดับแบรนด์ Ducati ไปอีกขั้นเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเรื่องฐานหลักของทางโรงงานอย่างเครื่องวีทวินซึ่งได้ Carl Fogarty มาช่วยให้ Ducati พิชิตแชมป์ the World Superbike อีกไม่ใช่ว่าด้วยความนิยมของ 916 และ M900 Monster จะทำให้ทุกอย่างของ Ducati นั้นโรยด้วยกลีบกุหลาบ ความฝันราคาแพงของ Castiglioni คือการนำพา Cagiva ครองแชมป์โลกรุ่น 500 ซีซีให้ได้ทำให้ประสบปัญหาทางการเงิน จนจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ล่าช้า และทำให้ผลิตรถได้น้อยลงเกือบครึ่งจนน้อยกว่า 13,000 คันในปี 1996 ในตอนนั้นผมจำได้ว่าผมเคยไปที่โรงงานในเมือง Varese และได้เห็นว่าโกดังนั้นเต็มไปด้วยเจ้า 916 ที่ยังไม่สมบูรณ์ดี รอคอยอะไหล่ที่คาดว่าน่าจะยังไม่ได้จ่ายเงิน

จากนั้นในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน Ducati ก็ถูกซื้อไปจากกลุ่มลงทุนในอเมริกาชื่อว่า Texas Pacific ซึ่งช่วยเคลียร์นี้กว่า 50 ล้านดอลลาร์ให้ ทั้งยังลงทุนผลิตรถรุ่นใหม่ๆ อีกด้วย โดยตัวท็อปยังคงเป็นเครื่องแปดวาล์ว ซึ่งได้รับการอัพเกรดเป็นเครื่องยนต์ Testastretta (ฝาสูบแคบ) ให้วาล์วนั้นทำมุมแคบลง (25 องศาจากเดิม 40 องศา) และเป็นเครื่องแบบโอเวอร์สแควร์มากขึ้น ช่วยให้แรงม้าของเจ้า 996R ปี 2001 เพิ่มขึ้นเป็น 135 แรงม้า

996R นั้นเป็นรถรุ่นพิเศษจำนวนจำกัด ราคาแพง ผลิตขึ้นเพียง 500 คัน และขายออนไลน์ได้หมดในวันเดียวกับวันที่มันเปิดตัวที่ Intermot ความจุจริงๆ ของเครื่องยนต์ช่วงชักสั้นนี้คือ 998 ซีซี รอบของมันจัดมากและสมรรถนะของดีมากทำให้มันกลายเป็นรถที่น่าทึ่ง ทั้งนี้ยังเป็นเพราะได้ระบบกันสะเทือนที่ดีจากทาง Ohlins และระบบเบรค Brembo ที่ดีกว่าเดิมด้วย

ปี 2002 เครื่องยนต์ Testastretta ได้ถูกปรับเปลี่ยนใหม่หมด ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น 998 ตามขนาดความจุ โมเดลธรรมดาผลิตแรงม้าได้ 123 ตัวพร้อมโช้คหน้า Showa และโช้คหลัง Ohlins มาพร้อมชุดสีแดงหรือเหลืองพร้อมเบาะนั่งเดี่ยวหรือคู่เลือกได้ และ 998S ที่เพิ่มความแรงขึ้นมาเป็น 126 แรงม้า และ 998R รุ่นพิเศษที่เป็นตัวสุดท้ายจากไลน์การออกแบบของ Tamburini เพราะปีถัดมาเราก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของ 999 นี่เป็นการอัพเดตที่ครอบคลุมมากที่สุดครั้งนึงของเครื่อง 8 วาล์ว โดย Ducati เรียกมันว่า “Redvolution” (เรียกว่าปฏิวัติของค่ายแทดงล่ะกัน) และทันทีที่มันชัดเจนมันก็กลายเป็นข้อผิดพลาดขนานใหญ่ การออกแบบของ Pierre Terblanche นั้นดี แต่ในทางเครื่องยนต์กลไกนั้นกลับไม่ได้เปลี่ยนไป การปรับแต่งไอดีและไอเสียนั้นเพิ่มแรงม้าเข้ามาเพียงแค่ตัวเดียวเป็น 124 ตัว และกำลังในรอบกลางที่ดีขึ้น แชสซีที่แข็งขึ้นแต่บางลงและต่ำลง สวิงอาร์มคู่ช่วยเพิ่มความเสถียร เบาะนั่งและพักเท้าระดับได้ช่วยทำขับขี่ได้สบายและควบคุมรถได้ดีขึ้นแต่ทันทีที่ 999 เปิดตัว การออกแบบไฟหน้าที่ซ้อนกันเป็นชั้นแทนทีไฟหน้าที่เรียงกันแบบแนวนอนของ 998 นั้นเป็นความล้ำที่มากเกินไป เกิดเสียงวิจารณ์หนาหู ยอดขายของ 999 และ 749 ที่ออกแบบแบบเดียวกันนั้นต่ำมาก แม้จะมีโมเดลอัพเกรดอย่าง 999S ที่มีแรงม้า 136 ตัวและระบบกันสะเทือนจาก Ohlins หรือกระทั่งการอัพเกรดในปี 2005 ที่จะได้เห็นการปรับเปลี่ยนโมเดลพื้นฐานและสามารถเรียกแรงม้าได้มากถึง 140 ตัว แต่ก็ไม่อาจจะทำให้เจ้า 999 ดังเปรี้ยงปร้างได้มันเป็นรถที่ดีคันนึง แม้ว่ามันจะได้รับการรับยอมรับช้าไปก็เถอะ และมันก็ตัวที่นำพาให้เกิดโมเดลที่โดดเด่นมากอย่าง 999R ที่เปิดตัวในกลางปี 2004 และใช้แข่งในศึก AMA Superbike มันเป็นอาวุธที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ 999 ซีซี ช่วงชักสั้นที่มาพร้อมวาล์วไทเทียมที่ใหญ่ขึ้น แคมชาฟต์ซิ่งและลูกสูบฟอร์จซึ่งช่วยให้ได้แรงม้าถึง 150 ตัว แฟริ่งคาร์บอนและระบบกันสะเทือน Ohlins ช่วยให้หน้าประวัติศาสตร์ที่ยากเย็นหน้านี้ปิดลงได้อย่างน่าตื่นเต้น

แต่โชคทางการเงินของ Ducati ก็ตกฮวบลงด้วยความล้มเหลวของโมเดลที่น่าจะทำกำไรได้มากที่สุด จะต้องมีการเพิ่มโมเดลใหม่อีก และมันก็มาถึงในปี 2007 กับเจ้า 1098 โดยเป็นผลงานการออกแบบของนักออกแบบอายุน้อย Gianandrea Fabbro โดยกลับมาใช้ไฟหน้าแบบคู่และหน้าตาที่ดูดุดัน เป็นการพัฒนาต่อจาก 916 และ 918 นั่นเอง แต่ 1098 นั้นมีอะไรที่มากกว่าชุดแฟริ่งใหม่สีแดงเครื่องยนต์ใหม่ขนาด 1,099 ซีซีชื่อ Testastretta Evoluzione นั้นได้รับการออกแบบใหม่ ให้แรงม้ามากถึง 160 แรงม้า ใช้เฟรมถักขนาดใหญ่ที่แข็งแรงขึ้นแต่เบาลง และเป็นอีกครั้งที่ใช้สวิงอาร์มเดี่ยว มีการใช้คาลิเปอร์เบรค Brembo โมโนบล็อกที่ใช้สำหรับรถแข่งเป็นครั้งแรก น้ำหนักรถเปล่านั้นหนักเพียง 173 กก. เจ้า 1098 นั้นสุดยอดมากๆ มันเปิดตัวที่ Kyalami ในแอฟริกาใต้ที่สูงจากระดับทะเลมากๆ แต่แน่นอนว่ามันก็เร็วกว่าคันอื่นๆ ในทุกที่ในโลกด้วยเช่นกัน แต่ปีถัดมาก็ยิ่งดีกว่าด้วยเจ้า 1098R  ไม่เพียงเพราะเครื่องยนต์ที่ใหญ่ขึ้นเป็น 1,198 ซีซี ขับแรงม้าได้ไม่น้อยกว่า 180 ตัว มีชุดท่อซิ่ง Termignoni และ ECU ที่ช่วยให้แรงม้าเพิ่มมากขึ้นไปอีก 5 ตัว แต่ 1098R ยังเป็นรถสปอร์ตไบค์คันแรกที่มาพร้อมแทร็กชั่นคอนโทรล ซึ่ง Ducati ได้พัฒนาไว้ใช้กับ Desmosedici รถแข่ง MotoGP หัวหน้าฝ่ายพัฒนา Andrea Forni ไม่ได้ล้อเล่นเมื่อเขาบอกว่า 1098R คือรถที่เหมือนกับรถแข่งมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของ Ducati dbอย่างที่เคย Ducati นั้นนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใส่กับรถโปรดักชั่นก่อนรวดเร็วเสมอ 1198S ปี 2009 มีแทร็กชั่นคอนโทรลที่ช่วยควบคุมเครื่องยนต์ที่ผลิตแรงม้าออกมามากถึง 170 ตัว มันเป็นรถที่ยอดเยี่ยมมากๆ มันดูดี ควบคุมได้ดี ทรงพลังและเร็วมากๆ และการที่เจ้า 1198S นำเทคโนโลยีระบบป้องกันล้อหมุนฟรีจากรถแข่ง MotoGP มาใช้ในรถสตรีทโมเดลนั้นเป็นอะไรที่โดเด่นมากๆ

ต่อมา Ducati ก็ส่งผู้สืบทอดรุ่นต่อมาอย่าง 1199 Panigale ซึ่งชื่อได้รับแรงบันดาลใจจากพื้นที่ใกล้เคียงในเมือง Bologna ดีไซน์ของ Panigale แสดงให้เห็นถึงการแหกคอกของทางค่าย เครื่อง  Superquadro แบบโอเวอร์สแควร์ขนาด 1,198 ซีซีวางบนแชสซี โดยละทิ้งเฟรมถักท่อโลหะที่เราคุ้นเคย เป็นการวางบนเฟรมโมโนค็อกอลูมิเนียมเหมือนที่เคยใช้ใน Desmosedici V4 รถแข่ง MotoGP ซึ่งทำหน้าที่เป็นแอร์บ็อกซ์ในตัวและใช้เครื่องยนต์เป็นส่วนนึงของตัวรับแรงเครียดด้วยช่วงชักที่สั้นมาก (แคมชาฟต์ขับด้วยโซ่แทนที่จะเป็นสายพาน) ช่วยให้เร่งได้มากถึง 11,000 รอบและแรงม้าสูงสุดที่ 195 ตัว เพิ่มจากเดิม 25 แรงม้า ทำให้เครื่องยนต์วีทวินนั้นสูสีกับเครื่องยนต์แบบ 4 สูบ ขายึดไฟหน้าแม็กนีเซียมและลูกเล่นในการลดน้ำหนักรถอื่นๆ อีกหลายอย่างทำให้น้ำหนักของมันลดลงถึง 10 กก. ทำให้น้ำหนักรถเปล่าเหลือแค่เพีบง 188 กก. Ducati นั้นเลือกไปเปิดตัวที่ Yas Marini ใน Abu Dhabi เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสถานะของเครื่องยนต์วีทวินที่มีความสำคัญมากที่สุดมาตั้งแต่เจ้า 851

รูปทรงปราดเปรียวของ Panigale ช่วยทำให้มันขายดี และโมเดลตลาดบนอย่าง 1199 S ที่มาพร้อมโหมดการขับขี่ 3 โหมด ควิกชิฟเตอร์และโช้คปรับไฟฟ้า Öhlins ทำให้รถนั้นไฮเทคและแรงมาก มันสามารถทำความเร็วทะลุ 280 กม./ชม.ได้ บังคับเลี้ยวได้รวดเร็วและเบรกได้ดีมากๆ ด้วยคาลิเปอร์เบรก Brembo Monoblocs พร้อม ABS แต่ Panigale ถูกมองว่าเป็นรถที่เน้นการขับขี่แบบเรซซิ่งและเหมาะกับการขี่สนาม ขาดความแรงในช่วงรอบกลางๆ มาอย่างยาวนานจนกลายเป็นส่วนนึงของ Ducati เครื่องวีทวินไปแล้ว

ทว่าโมเดลถัดมาก็ยังสุดโต่งยิ่งขึ้นไปอีก 1199 Panigale R เปิดตัวในปี 2013 ในการพยายามที่จะช่วย Carlos Checa คว้าแชมป์ World Superbike ที่เขาเคยคว้ามาได้เมื่อตอน 2 ปีก่อนหน้ากับ 1098 มันใช้ก้านสูบไทเทเนียม ข้อเหวี่ยงที่เบามากขึ้น และสวิงอาร์มที่เปลี่ยนจุดหมุนได้เป็นครั้งแรกของ Ducati มันสามารถลากรอบไปได้ถึง 12,000 รอบ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการปรับจูนให้มากขึ้นอย่างมาก ในปีต่อมา 1199 Superleggera ก็เต็มไปด้วยชิ้นส่วนคาร์บอน ไทเทเนียมและแม็กนีเซียม ทำให้น้ำหนักรถเปล่าเหลือเพียง 155 กก.

ต่อมาเป็นแมสโมเดลที่ถูกกำหนดมาให้เป็นที่จดจำ เพราะมันให้แรงม้ามากถึง 205 แรงม้าที่ 10,500 รอบ หมายความว่ามันมากกว่า 851 ดั้งเดิมถึงเท่าตัว 1299 Panigale ใช้ส่วนที่ดีจาก 1199 ทั้งหมด ที่เพิ่มเติมคือแรงม้า 10 ตัวที่รอบปลายบวกกับแรงบิดที่มากขึ้น 15% ในช่วง 5,000 ถึง 8,000 รอบ ส่วน Panigale S นั้นเพิ่มระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีกว่าเข้าไป เช่น ควิกชิฟเตอร์ 2 ทาง โช้คไฟฟ้า Öhlins และระบบเบรก Cornering ABS มันยอดเยี่ยมไปทุกสัดส่วน ทั้งสมรรถนะและสไตล์ คาแร็กเตอร์ของเครื่องวีทวินเองก็ช่วยให้มันเป็นรถที่น่าจดจำมากยิ่งขึ้น

และเมื่อปีที่แล้วกับ 1299 Panigale S Anniversario ที่เป็นโมเดลพิเศษจำนวนจำกัดฉลองครบรอบ 90 ปีของ Ducati ด้วยการปรับเปลี่ยนสไตล์เล็กน้อยและระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ 1299  Superleggera ก็เปิดตัวออกมาในปีนี้ด้วยเช่นกัน และแตกต่างออกไป เครื่องยนต์ขนาด 215 แรงม้า เฟรม สวิงอาร์มและล้อคาร์บอนไฟเบอร์ ให้ทั้งสมรรถนะและน้ำหนักที่เบาเพียง 167 กก.พร้อมของเหลว ที่ Massimo Bordi ที่เป็นคนเตรียมเครื่อง 8 วาล์ว 748 ซีซีให้กับรถแข่ง Bol d’Or เมื่อ 31 ปีที่แล้วคงไม่มีทางคิดถึง

1299 Panigale R Final Edition จัดเป็นตัวแสบอีกคัน ผลิตจำนวนน้อย แต่ไม่ได้เป็นรุ่นผลิตจำนวนจำกัด และผ่านมาตรฐาน Euro4 มันเป็นรถที่จะทำให้คุณทึ่งว่า Ducati จะทอดทิ้งเครื่องยนต์วีทวินที่อยู่กับเขามาหลายทศวรรษไปได้ยังไง ในเมื่อมันใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบแล้วแท้ๆ แต่ Claudio Domenicali ซีอีโอ Ducati ไม่เคยกลัวที่จะคิดค้นนวัตกรรม อย่างที่ทุกคนเห็นได้ชัดจากเจ้า Panigale รุ่นแรก

Domenicali ไม่ได้ต้องการจะเตือนว่าช่องว่างตั้งแต่แชมป์โลก WSBK ครั้งล่าสุดของ Ducati คือ 5 ปีและต่อเนื่องไปอีก บางทีอาจจะห่างกว่านี้ก็ได้ หลังจากที่ทุ่มเทพัฒนา Desmosedici นานนับทศวรรษ เขาก็ไม่สงสัยว่าเครื่อง 4 สูบวีจะสามารถพิชิตทั้งถนนและแทร็กได้หรือไ เครื่องยนต์วีทวินนั้นเป็นเครื่องยนต์ที่สุดยอดด้วยคาแร็กเตอร์พิเศษที่ไม่มีใครเทียบเคียงได้เขาบอกแต่บาลานซ์ระหว่างน้ำหนัก แรงม้า และแรงบิดของ V4 ที่เราพัฒนานั้นเหนือกว่ามาก

คนที่มองเห็นเจ้า Final Edition และบ่นโหยหาว่าทำไมมันไม่มีเฟรมถักนั้นแทบจะไม่มีอีกแล้ว ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่าเราจะชื่นชอบจรวดคันล่าสุดของ Ducati ในไม่ช้าอย่างแน่นอน และบางทีอาจจะได้ปรบมือให้กับราชาซูเปอร์ไบค์อีกคันแบบไม่ต้องกังวลว่ามันคือเครื่อง V4 แทนที่จะเป็ยวีทวิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่ามันจะมี DNA ของเดสโม่มาอย่างแน่นอน

การยึดครองแชมป์ World Superbike Domination ของรถแข่งวีทวิน 8 วาล์ว

การแข่งขัน World Superbike เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นเวทีโชว์ของเครื่องยนต์วีทวิน 8 วาล์วของ Ducati แล้ว การแข่งขันครั้งแรกเริ่มขึ้นในปี 1988 เป็นปีที่ 851 เปิดตัว และถึงแม้ Fred Merkel นักแข่งชาวคาลิฟอร์เนียจะคว้าแชมป์โลก 2 สมัยแรกไปด้วย Honda RC30 แต่ Ducati ก็สามารถเป็นที่จดจำได้ในทันทีด้วยการครองแชมป์ในช่วง 2 ทศวรรษแรกของการแข่งขันมาได้หลายสมัย

กระแสแรกนั้นมาจากการชนะครั้งแรกในการแข่งขันที่ Donington บวกกับโชคอีกนิดหน่อย Davide Tardozzi ที่ควบ Bimota ชนะการแข่งขันเรซแรกก่อนที่เขาจะล้มลงและส่งผลให้ Lucchinelli เป็นแชมป์ในเรซที่ 2 Lucchinelli ชนะเพิ่มอีกเพียง 1 เรซเนื่องจาก 851 มีปัญหาเรื่องระบบไฟและห้องข้อเหวี่ยง ด้าน Tardozzi กลับเจอปัญหาและทำให้ Merkel คว้าแชมป์ปีแรกไปแทน

ในปี 1989 ความไม่แน่นอนของเจ้า 851 ก็ยังส่งผลกับ Raymond Roche ที่มาขี่แทน Lucchinelli เขาเป็นคนฝรั่งเศสที่คว้าแชมป์ที่ Hockenheim และ Brainerd ในอเมริกา ยืนยันความแรงของเจ้า 888 แต่ด้วยการรีไทร์ 7 ครั้งทำให้เขาทำได้ดีที่สุดแค่อันดับที่ 3 ในปีต่อมาเจ้า 888 นั้นเร็วมากพอและไว้ใจได้มากขึ้นจนสามารถพาก Roche คว้าแชมป์สมัยแรกให้กับ Ducati จนได้ ด้วยการเอาชนะ 8 เรซของชาวฝรั่งเศสผู้นี้บวกกับอีกหนึ่งการช่วยเหลือจากทีมเมทอย่าง Giancarlo Falappaในปี 1991 Roche และ Falappa เองก็ขี่เจ้า 888 ได้ร้อนแรงเช่นกัน แต่เป็น Doug Polen ที่ขี่ให้กับทีม Fast By Ferracci ของ Eraldo Ferracci ที่มีฐานอยู่ในอเมริกาแซงหน้าไป นักแข่งจากเท็กซัสผู้นี้คว้า 10 โพล ชนะ 17 เรซ และ 6 ดับเบิ้ลแชมป์สนาม จากทั้งหมด 12 สนามที่เขาลงแข่ง Roche และ Stéphane Mertens นั้นเป็นผู้ชนะในเรซที่เหลือกลายเป็นการยึดครองของ Ducati Polen ชนะ 6 เรซในปี 1992 คว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน ด้าน Roche, Falappa และ Carl Fogarty นักบิดของ Ducati ชนะรวมกัน 11 เรซ ปีต่อมาเจ้า 888 ก็ยังคงแข่งได้สูสี เมื่อ Fogarty ลงแข่งให้ทีมโรงงานแทนที่ Polen ซึ่งออกไปขี่ให้กับ Ferracci ในศึก AMA Superbikes (และเขาก็ชนะด้วย) นักแข่ง Ducati แข่งชนะ 19 เรซจากทั้งหมด 16 เรซ แต่ Foggy กลับแพ้ให้กับ Scott Russell ไปแทน

และในปี 1994 หนุ่มอังกฤษก็เอาคืนจนได้ เขาทำความคุ้นเคยกับ 916 ได้อย่างรวดเร็วและนำพาความสำเร็จให้กับ Ducati อย่างมากมาย ความจุของเครื่องวีทวินของทีมโรงงานนั้นจริงๆ แล้วอยู่ที่ 955 และแรงม้าสูงสุดที่ 150 ตัว แม้ในตอนแรกจะมีปัญหาเรื่องการควบคุม แต่ Fogarty ยังสามารถชนะ 10 เรซและคว้าแชมป์ด้วยคะแนนนำเหนือ Russell จากการแข่งในสนามสุดท้ายไป

World Superbike เริ่มแข่งมานานขึ้นเมื่อผ่านเข้ามาถึงปี 1995 Fogarty เผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มีฝีมือจาก Ducati เอง นั่นคือ Troy Corser และ Pierfrancesco Chili บวกกับคู่แข่งที่มีค่ายรถญี่ปุ่นหนุนหลังอย่าง Russell, Colin Edwards และ Anthony Gobert เขาตอบกลับด้วยการคว้าแชมป์สมัยที่ 1 ได้แบบสบายๆ จากนั้นย้ายไปขี่ RC45 ให้กับ Honda ในปีต่อมา แต่ชัยชนะคือรถ คือเจ้า 916 ไม่ใช่ที่คนขับ 916 คว้าแชมป์ในปี 1996 โดย Corser ควบมันคว้าแชมป์สมัยที่ 6 จาก 9 แชมป์แรกของทาง Ducati

ชัยชนะต่อเนื่องหยุดลงในปี 1997 เมื่อ Fogarty กลับมาและต้องทนทุกข์จากการล้มหลายครั้งมากเกินไป เนื่องจากบาลานซ์ของรถเสียไปจากกฎใหม่ที่บังคับให้มีการเพิ่มน้ำหนัก ทำให้ John Kocinski จากHonda คว้าแชมป์ไป แต่ Foggy ก็เอาคืนและคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ได้ในสนามสุดท้ายของปีถัดมา ทั้งๆ ที่เขาชนะแค่เพียง 3 เรซ ต่อมาในปี 1999 เขาก็พบว่าเจ้า 996 คันใหม่นั้นเข้ากับเขาได้ดี เขาชนะทั้งหมด 11 เรซและคว้าแชมป์สมัยที่ 4 มาครองนั่นแสดงให้เห็นว่าเครื่องยนต์วีทวิน 8 วาล์วแบบ DOHC ของ Ducati นั้นเคยยึดครอง World Superbikes ได้อย่างไร และมันก็ไม่แปลกใจเลยถ้าในปี 2000 แล้วได้เห็นหลายๆ คล้ายใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกันนี้ทั้งใน Honda SP-1 (หรือRC51), Aprilia RSV และ Bimota SB8 ที่ใช้เครื่องยนต์ Suzuki แต่เป็น Edwards ที่คว้าแชมป์ให้กับ ส่วน Fogarty ล้มจนต้องเลิกแข่งที่ Phillip Island และ Edwards คว้าแชมป์ที่ 2 ได้อีกครั้ง โดยมี Troy Bayliss นักแข่งชาวออสซี่คว้าแชมป์แรกของเขาจากทั้งหมด 3 ครั้งให้กับ Ducati คั่นกลางไว้

ในปี 2003 และ 2004  เป็นเจ้า 999 ที่ช่วยพาสองนักแข่งชาวอังกฤษอย่าง Neil Hodgson และ James Toseland คว้าแชมป์ติดต่อกัน หลังจากที่ Corser คว้าแชมป์ให้กับ Suzuki ในปีตัดมา Bayliss ก็สามารถคว้าแชมป์อีก 2 สมัยด้วยเจ้า 999 ในปี 2006 และด้วย 1098 ในปี 2008 แต่ตอนนี้คู่แข่งที่ใช้เครื่อง 4 สูบเริ่มร้อนแรงกว่า ด้วยการคว้าชัยของ Ben Spies จาก Yamaha และหลังจากนั้นเป็น Max Biaggi ที่ควบ Aprilia มาเป็นตัวตอกย้ำ

แม้ในปี 2011 Carlos Checa จะโชว์ลีลาท็อปฟอร์มด้วย 1098R คว้าแชมป์ไป 15 เรซและเป็นแชมป์โลกคนที่ 14 ของ Ducati แต่นั้นเป็นแชมป์สุดท้ายของ Duacti เนื่องจาก Aprilia RSV4 และ Kawasaki ZX-10R กลายมาเป็นผู้ยึดครองใน 5 ปีสุดท้าย แม้ว่า Panigale จะแข่งได้สูสีจากที่เราเห็นได้จากฝีมือของ Chaz Davies ที่จบฤดูกาลล่าสุดด้วยการชนะทั้งหมด 6 เรซ และตอนนี้เป็นโอกาสของเครื่องยนต์ Desmosedici ที่ใช้แข่งใน MotoGP เครื่องยนต์ V4 รุ่นใหม่นี้จะช่วยพา Ducati ไปคว้าแชมป์โลก WSBK เมื่อมันมาถึงกริดสตาร์ทในปี 2019 ได้หรือไม่ ต้องติดตามกันครับ

- Advertisement -

บทความยอดนิยม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่