Yamaha จดสิทธิบัตรคลัตช์เทียม สำหรับโมโตครอสไฟฟ้า

Yamaha จดสิทธิบัตรคลัตช์เทียม สำหรับโมโตครอสไฟฟ้า

พวกเราไบเกอร์น่าจะเคยได้เห็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับการพัฒนารถโมโตครอสไฟฟ้าจากทาง Yamaha ไปหลายตัวแล้ว แล้วเจ้าสิทธิบัตรล่าสุดเนี่ยก็ยังเกี่ยวข้องกับโมเดลโมโตครอสไฟฟ้าที่เผยให้เห็นถึงอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งที่แฮนด์บาร์เพื่อทำหน้าที่จำลองผลของคลัตช์หรือพูดง่าย ๆ ว่า Yamaha จดสิทธิบัตรคลัตช์เทียม สำหรับรถโมโตครอสไฟฟ้านั่นเอง

TY-E-2.0

ยามาฮ่าได้ตะหนักอย่างชัดเจนเลยว่ารถไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟฟ้าที่ใช้ในการแข่งขัน จะขับขี่ได้ดีขึ้นจากการมีคลัตช์ สังเกตได้จาก TY-E รถไทรอัลไฟฟ้าของทางค่ายที่มีฟลายวีลและคลัตช์คั่นกลางระหว่างมอเตอร์กับระบบเกียร์ 1 สปีด มันช่วยให้ผู้ขับขี่หมุนมอเตอร์และฟลายวีลได้โดยที่ล้อไม่ต้องหมุนตามได้ ซึ่งช่วยให้เกิดความเสถียรจากการอาศัยหลักของแรงเฉื่อยของมวลหมุน และสามารถใช้ฟลายวีลเป็นเสมือนแหล่งเก็บพลังงานชั่วคราวเพื่อเร่งความเร็วรอบเครื่องยนต์และปล่อยคลัตช์ซึ่งช่วยสร้างพละกำลังและแรงบิดที่มากขึ้นชั่วพริบตา ซึ่งมากกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าเพียงลำพังจะทำได้

อย่างไรก็ตาม สิทธิบัตรที่ออกมาก่อนหน้านี้ของบริษัทแสดงให้เห็นว่าระบบคลัตช์แบบกลไกและฟลายวีลได้ถูกกำจัดออกไปแล้วเพื่อที่จะให้รถมีความกะทัดรัด และเบามากขึ้น และแทนที่มันด้วยตัวหน่วงการสั่นสะเทือนเชิงบิด โดยใช้แผ่นดิสก์สองแผ่นที่เชื่อมต่อกันด้วยสปริงซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นเสมือนกับแหล่งเก็บพลังงานชั่วคราวได้ ยามที่เปิดคันเร่งเล็กน้อยขณะที่กำลังกดเบรกอยู่เพื่อบังคับให้สปริงโช้คยุบตัว จากนั้นก็ปล่อยเบรกเพื่อให้สามารถปล่อยพละกำลังที่หนักหน่วงออกมาได้มาเป็นพิเศษ

Yamaha จดสิทธิบัตรคลัตช์เทียม

สิทธิบัตรล่าสุดนี้มีการเพิ่มก้านคลัตช์หลอก ๆ เข้าไปด้วย เพื่อให้รู้สึกว่าควบคุมการส่งกำลังของรถได้มากขึ้น และมีรีเจ็นเนอเรทีฟเบรกกิ้งในระดับที่สามารถทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกได้ว่ามันมีผลแบบเดียวกับการมีคลัตช์จริง ๆ โดยไม่ต้องแยกเครื่องยนต์ออกจากระบบส่งกำลังจริง ๆ

ทว่าในปีนี้เราได้เห็นไอเดียที่คล้าย ๆ กันนี้มาแล้วมาจากหลาย ๆ ค่าย เช่น Kymco ที่ไม่เพียงแต่จำลองระบบคลัตช์แต่ยังจำลองระบบเกียร์มาด้วย ขณะที่การควบคุมอะไรที่มันง่าย ๆ แบบบิดแล้วก็ไปของรถไฟฟ้านั้นเป็นอะไรที่ตลาดรถใช้งานในชีวิตประจำวันต้องการมากกว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีไรเดอร์อีกกลุ่มที่ต้องการอะไรมากกว่านั้น

ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาของการแข่งขันรถโมโตครอสไฟฟ้าของยามาฮ่าก็ต้องถูกคาดหวังว่าจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าหรือรถสันดาป แน่นอนว่าการควบคุมนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นการเพิ่มคลัตช์เข้ามาดูจะสมเหตุสมผลมาก

แล้วเจ้าสิทธิบัตรใหม่ที่ว่านี้ก็เจาะจงไปว่าก้านคลัตช์ที่ว่านี้ติดตั้งและทำงานยังไง แม้ว่ามันจะอยู่ที่แฮนด์ด้านซ้ายอย่างที่คิด แต่มันไม่ใช่คลัตช์ มันคือเบรกหลัง ก้านคลัตช์ที่ควบคุมรถจริง ๆ คือก้านเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านบนเบรกอีก ใช้นิ้วชี้ควบคุมอย่างเดียว

Yamaha จดสิทธิบัตรคลัตช์เทียม

ผลของการใช้คลัตช์นี้ต่อกำลังของมอเตอร์และแรงจากระบบรีเจอเนเรทีฟจะเทียบเท่ากับเอ็นจิ้นเบรกของรถสันดาป สิทธิบัตรนี้อธิบายความรู้สึกของการควบคุมและแสดงให้เห็นถึงเดดโซนที่ปลายทั้งสองด้านของระยะการเคลื่อนที่ และมีแรงต้านแบบก้าวหน้าที่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเหนี่ยวก้านเข้ามาและจะลดลงเมื่อดึงจนสุด แบบเดียวกับคลัตช์ปกติเลย ทำให้มีความรู้สึกคุ้นเคยได้ไม่ยาก

แม้สิทธิบัตรนี้จะใช้กับรถโมโตครอสไฟฟ้าและกำลังพัฒนาอยู่ แต่แนวคิดก็ชัดเจนว่ามันน่าจะนำไปใช้กับสตรีทไบค์ไฟฟ้าในอนาคตได้ด้วย และจะช่วยดึงดูดนักบิดที่อยากจะสนุกกับกลไกต่าง ๆ แบบที่เขาเคยได้จากเครื่องยนต์สันดาป

อ่านข่าวอื่นๆ จาก Yamaha คลิกที่นี่

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

- Advertisement -

บทความยอดนิยม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่