Turbocharger vs Supercharger
ทำไมถึงไม่มีในรถแข่ง MotoGP ?
ขั้นตอนแรกเรามารู้จักกับเจ้า Turbocharger vs Supercharger กันก่อน..
Turbocharger และ Supercharger เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มกำลังแรงม้าให้เครื่องยนต์ด้วยการบีบอัดอากาศที่เข้าสู่ห้องเผาไหม้ (Forced Induction) แต่ทั้งสองสิ่งเหล่านี้มีข้อดี ข้อเสีย และการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้
Turbocharger vs Supercharger: ความแตกต่างและการทำงาน
ลักษณะ | Turbocharger | Supercharger |
การตอบสนอง | มี Turbo Lag (ล่าช้าเล็กน้อย) | ไม่มี Lag ตอบสนองทันที |
แรงม้าที่ใช้ | ใช้แรงดันจากไอเสีย | ใช้กำลังขับจากเครื่องยนต์ (สายพาน) |
กำลังที่เพิ่ม | กำลังเครื่องเพิ่มที่รอบเครื่องสูง | เพิ่มขึ้นทันที |
ข้อดี | ใช้แรงดันจากไอเสียทำให้ประหยัดแรงม้า เพิ่มประสิทธิภาพการเผาใหม้เชื้อเพลิง | ให้กำลังเครื่องที่ต่อเนื่องและทันทีเมื่อเร่งเครื่องยนต์ |
ข้อเสีย | มี Turbo Lag ซึ่งเกิดจากความล่าช้าก่อนที่เทอร์โบจะหมุนได้เร็วพอที่
ต้องพึ่งระบบระบายความร้อนหรือขยายให้ใหญ่ขึ้น เพราะเทอร์โบทำงานในอุณหภูมิสูงจากไอเสีย |
ใช้กำลังจากเครื่องยนต์โดยตรง ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องยนต์อาจจะลดลง
การติดตั้งซับซ้อน เพิ่มการสึกหรอของเครื่องยนต์ |
ประสิทธิภาพและการใช้งาน | เหมาะสำหรับการใช้งานที่เน้นแรงม้าในรอบเครื่องยนต์สูง | เหมาะสำหรับการใช้งานที่เน้นความตอบสนองทันที |
การใช้ Forced Induction ในประวัติศาสตร์การแข่งมอเตอร์ไซค์
ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ในยุคก่อนสงครามโลก
- ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบซูเปอร์ชาร์จเจอร์ได้รับความนิยมในสนามแข่ง ตัวอย่างเช่น:
- BMW Type 255 Kompressor: มอเตอร์ไซค์ที่ใช้ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในยุคนั้น ด้วยน้ำหนักเบาและสมรรถนะที่สูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
- Gilera 500cc Supercharged: อีกหนึ่งตัวอย่างที่โดดเด่นในยุคเดียวกัน
เทอร์โบชาร์จเจอร์ในช่วงปี 1970-1980
- ในช่วงปลายปี 1970 และ 1980 มีการทดลองใช้เทอร์โบในมอเตอร์ไซค์สำหรับถนนและการแข่ง ตัวอย่างเช่น:
- Suzuki XN85: มอเตอร์ไซค์โปรดักท์ชันที่ใช้เทอร์โบ ซึ่งบางครั้งถูกดัดแปลงเพื่อใช้ในสนามแข่ง
- Honda CX500 Turbo: แม้จะเป็นมอเตอร์ไซค์ที่เน้นถนน แต่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทอร์โบในการเพิ่มกำลัง
ระบบ Forced Induction ในปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบัน มอเตอร์ไซค์ซีรี่ย์ Kawasaki H2 และ H2R ที่ใช้ซูเปอร์ชาร์จเจอร์เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการกลับมาใช้ Forced Induction แต่รถเหล่านี้ไม่ได้รับการออกแบบสำหรับ MotoGP หรือ WorldSBK เนื่องจากเน้นสมรรถนะในลักษณะไฮเปอร์ไบค์มากกว่า
ซึ่งทั้ง Turbocharger – Supercharger โดยรวม ก็มีข้อดีมากกว่า ข้อเสีย แต่ทำไมรถแข่งแนว Circuit หรือ Superbike รวมถึง MotoGP กลับไม่มี
MotoGP และ WorldSBK
1. ข้อกำหนดทางกฎระเบียบ
- ใน MotoGP การใช้ระบบเทอร์โบถูกห้ามโดยกฎระเบียบ เนื่องจากเน้นการพัฒนาทักษะนักแข่งและสมดุลการออกแบบตัวรถ
- สำหรับ WorldSBK ซึ่งอิงจากรถโปรดักชัน การนำเทอร์โบมาใช้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการ Homologation ซึ่งซับซ้อนและไม่สอดคล้องกับโมเดลรถปัจจุบัน
2. การควบคุมแรงม้าและ “Turbo Lag”
- เทอร์โบเพิ่มแรงม้าให้เครื่องยนต์โดยการอัดอากาศเข้าสู่ห้องเผาไหม้ แต่เทอร์โบต้องการเวลาในการหมุนให้ถึงความเร็วสูงสุด จึงเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Turbo Lag”
- Turbo Lag คือความล่าช้าของการตอบสนองของเครื่องยนต์ขณะรอให้เทอร์โบเพิ่มแรงดันอากาศ ส่งผลให้การส่งแรงม้าไม่ต่อเนื่องและยากต่อการควบคุม โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องการการตอบสนองฉับไว เช่น การออกจากโค้งในสนามแข่ง
Turbo Lag คืออะไร และทำงานอย่างไร?
เทอร์โบทำงานโดยใช้ก๊าซไอเสียจากเครื่องยนต์ไปหมุนใบพัดในเทอร์โบชาร์จเจอร์ ซึ่งจะดึงอากาศเข้าไปอัดในห้องเผาไหม้เพื่อเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ขับขี่เปิดคันเร่ง ก๊าซไอเสียที่ส่งไปยังเทอร์โบอาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ใบพัดหมุนด้วยความเร็วสูงสุดในทันที ทำให้การเพิ่มพลังเกิดความล่าช้า นี่คือสิ่งที่เรียกว่า Turbo Lag
ดูๆแล้วระบบซูเปอร์ชาร์จเจอร์ลดข้อเสียนี้ได้บางส่วนเพราะขับเคลื่อนด้วยสายพานจากเครื่องยนต์และสามารถเพิ่มแรงม้าได้ตังแต่รอบต่ำ แต่ด้วยอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้น ตามด้วยน้ำหนัก ทำให้การเลี้ยวทำได้ยาก
3. การจัดการความร้อนและน้ำหนัก
- ระบบเทอร์โบเพิ่มความร้อนอย่างมากและต้องการระบบระบายความร้อนที่ซับซ้อน เช่น อินเตอร์คูลเลอร์และหม้อน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเพิ่มน้ำหนักและลดความคล่องตัวของรถ
4. ต้นทุนและความซับซ้อน
- การพัฒนาและบำรุงรักษาเครื่องยนต์เทอร์โบมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลกระทบต่อทีมแข่งในแง่ของงบประมาณ
ในการแข่งขันจริง แรงม้าที่เพิ่มขึ้นเฉียบพลัน จากการทำงานของเทอร์โบ หรือ ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ จะสร้างความอันตรายให้กับผู้ขับขี่ ขณะที่เร่งตอนออกโค้ง เพราะกำลังแรงม้าที่ออกมารุนแรงทันที บนพื้นที่ยึดเกาะของยางที่เล็กเท่าเหรียญสิบบาท อาจไม่เพียงพอ และส่งผลให้เสียกการควมคุม ซึ่งถ้าจะมีจริง ก็ต้องมีระบบอิเล็กโทรนิค กล่องควบคุมต่างๆ เพิ่มขึ้น
สรุปง่ายว่า Turbocharger vs Supercharger ในรถ circuit คือ อย่าหาทำ
รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก