3 – DUNLOP SPORTSMART TT
ผลิตขึ้นมาอย่างไร
นี่คือยางใหม่ประจำปีนี้ มันมาเติมช่องว่างระหว่าง SportSmart 2 Max และ GP Racer เป็นยางซูเปอร์สปอร์ตที่ลงตัวระหว่างการขี่ถนนในสไตล์สปอร์ตและขี่ซิ่งในวันแทร็กเดย์ มันช่วยให้คุณขี่บนแทร็กได้เร็วและปลอดภัย จุดเด่นของยางทุกตัวของ Dunlop ตัวนี้สามารถพบได้ในโครงสร้างยางของ SportSmart TT ซึ่งใช้เทคโนโลยี JLB (JointLessBelt) ที่นำเอาเส้นใยอะรามิดมาบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกัน (Dunlop ไม่ได้ใช้ใยเหล็ก) และเทคโนโลยี NTec ซึ่งถูกพัฒนาเพิ่มเป็น NTec RT (Road & Track) ซึ่งทำให้มันมีความพิเศษคือสามารถลดลมยางหลังเพื่อใช้ขับขี่ในสนามได้มากเป็นพิเศษที่ 1.7 บาร์หรือ 24.66 ปอนด์ต่อตารางนิ้วได้ ในกรณีนี้ NTec RT ยังช่วยให้ขับขี่บนถนนได้นุ่มสบายอีกด้วย ดังนั้นยางตัวนี้จึงเข้าหลักเกณฑ์การทดสอบเปรียบเทียบในครั้งนี้ ในการทดสอบสนามกับ SportSmart TT เราลดลมยางหลังเหลือเพียง 2.0 บาร์หรือ 29 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ส่วนยางหน้าคงไว้ที่ 2.5 บาร์หรือที่ 36.26 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ยางหลังนั้นเป็นสองคอมปาวด์แต่มีลักษณะที่ค่อนข้างกลม คอมปาวด์ตรงกลางเป็นแบบฮาร์ด (มีเพียง 20% ของหน้ายางทั้งหมด) ส่วนที่เหลือเป็นแบบซอฟต์ทั้งหมด Dunlop นั้นตัดสินใจได้น่าสนใจตรงที่คอมปาวด์ยางนั้นไม่มีซิลิก้าอยู่เลยมีแต่เพียงคาร์บอนแบล็กเท่านั้น
ทดสอบสนาม
ถ้าคุณกำลังมองหายางที่ด้านหน้านิ่งมากๆ ล่ะก็ SportSmart TT คือยางสำหรับคุณ มันเป็นฟีลลิ่งที่ได้จากการขี่เจ้า S 1000 RR ทำให้คุณมั่นใจมาก แต่มันก็ทำให้คุณรู้สึกว่าหน้ามันช้าด้วย Dunlop อยากให้มันตอบสนองได้ดีกว่ายางจากค่ายอื่นๆ ตอนที่ผมทดสอบในงานเปิดตัว เส้นทางช่วงแรกของการทดสอบคือทางลงเขาที่ชันราวๆ 0 – 40 องศา ตัวโปรไฟล์ยางของ Dunlop เนี่ยค่อนไปทางยางสำหรับเข้าโค้งมากกว่า มันไม่ใช่ข้อด้อย แต่มันคือลักษณะของยาง ทว่านั่นหมายความว่าคุณอาจจะเสียเวลาไปนิดหน่อยเวลาที่คุณจะพลิกรถไปอีกทางเมื่อเทียบกับยางที่พลิกรถได้ไวกว่า ส่วนเรื่องความเสถียรโดยเฉพาะในตอนเบรคนั้น เทียบกับ Pirelli แล้ว Dunlop ให้ความมั่นใจมากกว่าเวลาขี่เข้าไปในหลุมในสนามที่ Alcarras ซึ่งเป็นจุดนึงที่รถที่พับเข้าโค้งไปจะหายไปเพราะมันเป็นเหมือนแอ่งในสนาม ความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของ Dunlop เป็นเครื่องยืนยันที่ดี โดยเฉพาะที่ยางหน้าซึ่งทำให้รถเสถียรมากๆ เวลาเบรค จนทำให้คุณกล้าเบรคหนักๆ มากขึ้น อย่างไรก็ดีเวลากำเบรคคุณจะสัมผัสได้ถึงความไม่สมบูรณ์ของถนนได้เนื่องจากมีการตอบสนองขึ้นไปยังผู้ขับขี่ แต่มันก็ไม่ได้ส่งผลกับความเสถียรของรถ เพราะมันยังคงนิ่งและเฟิร์ม ขณะแบนโค้งเต็มที่นั้นยางหลังให้การยึดเกาะน้อยกว่าคู่แข่งเล็กน้อย สังเกตได้จากมีไฟ LED ที่แสดงการทำงานของแทร็คชั่นคอนโทรลของ BMW นั้นทำงาน (ทุกคันถูกเซ็ตไว้ใน Race โหมด)
ทดสอบเปียก
ในการทดสอบแบบเปียกนั้น Dunlop SportSmart TT แสดงให้เห็นถึงลิมิตของการยึดเกาะด้วยส่วนผสมทางเคมี มันมีลิมิตมากกว่าการผสมผสานของการออกแบบ เพราะร่องดอกยางนั้นรีดน้ำได้ดีตอนที่ผิวน้ำถูกปะทะ พอเราขี่บนถนนที่เปียกนั้นมีเพียงส่วนแรกของโปรไฟล์ยางเท่านั้นที่ถูกใช้ (สูงสุดที่ 35 องศา) ซึ่งในการทดสอบนี้ Dunlop ทำได้ดี คุณไม่รู้สึกว่าช้าเลย
ตอนทดสอบแห้งมันทำผลงานได้ดีจากยางหน้าที่นิ่ง ส่วนการทดสอบเปียกนั้นมันน้อยลงเล็กน้อย แต่คุณจะสัมผัสได้ถึงการยึดเกาะที่น้อยลงเล็กน้อยและรู้สึกได้ถึงความไม่ชัดเจนซึ่งทำให้คุณไม่อยากที่จะเปิดคันเร่งเพิ่ม แทนที่จะเปิดคันเร่งคุณกลับต้องเลือกที่จะปล่อยให้รถไหลไป แต่นั่นก็ทำให้เสียเวลาไป ดังนั้นถือว่าการทดสอบเปียกในเรื่องของฟีลลิ่งนั้นทำได้ไม่ดีเยี่ยม การยึดเกาะที่ยางหลังนั้นเกิดขึ้นได้เร็ว สังเกตได้จากไฟแสดงการทำงานของแทร็คชั่นคอนโทรลของ S 1000 R ที่เราใช้ทดสอบ (เซ็ตไว้ที่ Rain)
ทดสอบในแทร็ก – เวลาที่ดีที่สุด | 1:45:01 |
ทดสอบในแทร็ก – เวลาเฉลี่ย* | 1:45:10 |
ทดสอบพื้นเปียก– เวลาที่ดีที่สุด | 43.744 |
ทดสอบพื้นเปียก– เวลาเฉลี่ย* | 44.270 |
*เวลาเฉลี่ยจากการทดสอบต่อเนื่อง 5 แล็ป
ผลคะแนนการทดสอบ Dunlop SportSmart TT
คะแนนที่ได้
การควบคุม | ★★★ |
การยึดเกาะที่ยางหน้า | ★★★★ |
การยึดเกาะที่ยางหลัง | ★★★ |
การรักษาไลน์ | ★★★ |
ความเสถียร | ★★★★ |
พื้นเปียก | ★★★ |
ความเสถียรขณะเบรค | ★★★★★ |
สรุปคะแนน | 3.57 |