spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

Bajaj ลุย CBG เตรียมปั้นโมเดลพลังงานแห่งอนาคต

Bajaj เตรียมปั้นโมเดลพลังงานใหม่ในแห่งอนาคต

Bajaj ลุย CBG
Bajaj ลุย CBG ปั้นโมเดลสุดล้ำพร้อมพลังงานทางเลือกใหม่ในอนาคต

Bajaj ลุย CBG ในขณะที่ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์หลากหลายแบรนด์จากทั่วโลกต่างมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสอดรับกับวิถีชีวิตและความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไปพร้อมกับเทรนด์และกระแสความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่มากยิ่งขึ้น อาทิ รถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังรุกตลาดทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ทางผู้ผลิตรายใหญ่จากอินเดียอย่าง Bajaj กลับมีแนวคิดที่แตกต่างออกไป โดยให้ความสำคัญกับพลังงานเชื้อเพลิงทางเลือกที่ยั่งยืนเสียมากกว่า เพราะอะไรกัน..?

หากใครที่ติดตามข่าวสารต่างประเทศ ก็คงจะคุ้นข่าวการเปิดตัวโมเดลพิกัด 125 ซีซีที่ใช้ก๊าซ CNG เป็นรุ่นแรกของโลกภายใต้ชื่อ Freedom 125 ซึ่งโมเดลดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากและสามารถจำหน่ายได้มากกว่า 25,000 คันในช่วงไม่กี่เดือนแรกหลังจากเปิดตัวทีเดียว

Bajaj ลุย CBG

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าแค่ CNG ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในปัจจุบัน โดยล่าสุดทางซีอีโอของบริษัทอย่าง Rajiv Bajaj ได้ประกาศว่าบริษัทกำลังวางแผนพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ CBG (Compressed Biogas) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า ก๊าซชีวภาพอัด นับเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่อาจนำมาใช้กับรถจักรยานยนต์ในอนาคต

ก๊าซชีวภาพอัด (CBG) คืออะไร

CBG (ก๊าซชีวภาพอัด) เป็นผลผลิตจากของเสียอินทรีย์ เช่น เศษซากทางการเกษตร, มูลสัตว์และขยะอาหาร โดยกระบวนการผลิตจะใช้วิธีการ *ย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ซึ่งจะปล่อยก๊าซมีเทน (Methane) ออกมาและนำไปอัดเป็นก๊าซชีวภาพอัด (CBG) ที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้*

Bajaj ลุย CBG
เครื่องยนต์พลังงาน CNG ขุมพลังสันดาปที่ใช้พลังงานทางเลือกจากธรรมชาติ

สิ่งที่น่าสนใจคือ CBG ถือเป็นเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นกลาง (Carbon Neutral) หรือหากพูดง่าย ๆ ก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเมื่อเผาไหม้จากเครื่องยนต์ จะถูกชดเชยด้วยคาร์บอนที่ถูกดูดซับโดยวัตถุดิบต้นทาง (พวกพืช และสัตว์) ในระหว่างที่พวกมันเจริญเติบโต

แล้ว CBG แตกต่างจาก CNG อย่างไร 

ทั้งก๊าซ CBG และ CNG ต่างล้วนเป็นเพลิงเชื้อสะอาด แต่มีความแตกต่างในแง่ของแหล่งที่มา และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างที่กล่าวไปในย่อหน้าข้างต้นนั้น ก๊าซ CBG เป็นพลังงานที่เกิดจากผลผลิตจากของเสียอินทรีย์ อีกทั้งยังเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตขึ้นมาใช้ใหม่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก๊าซ CNG เป็นผลผลิตจากแหล่งก๊าซธรรมชาติใต้ดิน ซึ่งเป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกอัดด้วยความดันสูงจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้แล้วหมดไปนั่นเอง

ซึ่ง CNG ก็เสมือนกับน้ำมันเบนซินและดีเซลที่เป็นทรัพยากรจำกัดและจะหมดลงในอนาคต เพราะฉะนั้น CBG จึงเป็นตัวเลือกสำคัญที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องจากของเสียจากเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา เนื่องจากยังคงต้องรับปัญหาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมายอาทิ เรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูง เครื่องมือ เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและระยะเวลาในการผลิตที่ค่อนข้างยาวนาน

ถึงแม้จะมีอุปสรรค แต่ก็ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้ต้นทุนของการผลิตพลังงานทางเลือกลดลงได้ในระยะยาว อาทิเช่น แบตเตอรี EV ที่เคยมีราคาแพงในอดีต แต่ในปัจจุบันกลับมีราคาลดลงอย่างมากเนื่องจากการผลิตจำนวนมาก 

บทบาทของ CBG กับกระแสรถ EV ที่กำลังฮิตติดเทรนด์ทั่วโลก แน่นอนว่าแนวคิดสวนกระแสย่อมตามมาด้วยคำถามต่างนา ๆ มากมาย ในเมื่อพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ปราศจากคาร์บอนแทบร้อยเปอร์เซ็นต์ อีกทั้งคุณภาพและราคาโปรดักท์ยังเข้าถึงได้ง่าย ทำไมจึงต้องผลิตรถมอเตอร์ไซค์ใช้แก๊สเพิ่มขึ้น ? อย่างไรก็ต้องรอชมว่าโมเดลในพลังงานทางเลือกใหม่จะมีศักยภาพและสมรรถนะตอบโจทย์ต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน จะสวนกระแสโมเดลพลังงานไฟฟ้าที่ฮิตติดตลาดทั่วโลกในยุคปัจจุบันได้มากน้อยเพียงใด แต่แน่นอนว่าเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ยกนิ้วให้เลย

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

- Advertisement -
Joe Superbike
Joe Superbikehttp://www.superbikemag.com
นักเขียน "หัวใจสีเขียว" ที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์คลาสสิกเป็นชีวิตจิตใจ และมาโลดแล่นในวงการมอเตอร์สปอร์ตระดับโลก

บทความยอดนิยม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่