spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

No Helmet No fuel 2025 ไม่สวมหมวก อดเติม เริ่มบังคับใช้

No Helmet No fuel 2025
ไม่สวมหมวก อดเติม เริ่มบังคับใช้ 

หมวกกันน็อก สำคัญหรือไม่? ปัญหาล้านแปดที่ชวนทำไบค์เกอร์หัวเสียมานักต่อนัก และแน่นอนว่าหลายท่านต่างเห็นด้วยและก็ไม่เห็นด้วย ขึ้นอยู่แต่ละแนวคิดการใช้งานเจ้าสองล้อว่าจะใช้แบบไหน บางคนออกจากบ้านไปตลาด ไปซื้อของก็ไม่จำเป็น หรือบางคนไปเรียน-ทำงานทุกวัน ใส่ไว้หน่อยก็ดี พี่ ๆ ตำรวจจะได้ไม่เรียก..แต่นั้นหล่ะครับ ความยืดหยุ่นแบบไทย ๆ สบาย ๆ คุยกันง่าย แต่ตอนนี้อินเดียเขาเริ่มจริงจังละนะ ออกนโยบาย No Helmet No fuel 2025 สำหรับใครไม่ใส่หมวก ไม่ต้องเติมน้ำมัน แล้วทำไมออกกฎแบบนี้กันหล่ะ ?

จากตัวเลขสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนปีละประมาณ 25,000 – 26,000 รายในอินเดีย นับเป็นปัจจัยหลักสำคัญของอัตราการเสียชีวิตของผู้คนในแต่ละปีมากที่สุด โดยสาเหตุหลักสำคัญนั้นเกิดจากความ “ประมาท” ของผู้ใช้ยานพาหนะโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่ไม่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย มีอัตราการเสี่ยงอุบัติเหตุและการสูญเสียมากที่สุด

และผู้ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ล่าสุด กรมขนส่งภายในรัฐอุตตร เดินหน้าประกาศการใช้ข้อบังคับนโยบาย No Helmet, No fuel หรือ “ไม่มีหมวกกันน็อก ไม่มีน้ำมัน” ให้ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน งดการบริการจำหน่ายน้ำมันแก่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกกันน็อกรวมถึงคนซ้อน เพื่อลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่บนท้องถนน 

โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้

  • ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันต้องได้รับการอบรมกฎหมายยานยนต์และกฎจราจร
  • ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันจะต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและสำนักงานขนส่งในพื้นที่ภูมิภาคเขตนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ 
  • ติดป้ายขนาดใหญ่ตามจุดสถานีบริการน้ำมัน พร้อมข้อความ “ไม่มีหมวกกันน็อก ไม่มีน้ำมัน” เพื่อสร้างความตระหนักและความใส่ใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ 
  • การประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในวงกว้าง

สำหรับนโยบายดังกล่าวจะถูกบังคับใช้อย่างจริงจังภายในรัฐอุตตร ประเทศอินเดีย และคาดว่าจะขยายการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

หากนำมาใช้ในไทย ดีหรือไม่ ?

ตัวเลขสถิติอุบัติเหตุทางถนนปี 68 ยอดตัวเลขของรถจักรยานยนต์คิดเป็น 91 เปอร์เซ็นต์

แน่นอนว่าไทยครองอันดับ 1 ที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์มากที่สุดในโลก (แซงเวียดนามไปแล้ว) ย่อมมาพร้อมกับอุบัติเหตุมากที่สุดเช่นกัน จากตัวเลขสถิติผู้ได้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุสะสมในปี 68 คิดเป็นสัดส่วนของรถจักรยานยนต์มากถึง 91% ประกอบกับพฤติกรรมการรถใช้จักรยานยนต์ในชีวิตประจำวัน จึงค่อนข้าง “สอดคล้อง” และเป็นประโยชน์มิใช่น้อย อย่างน้อยก็ให้ผู้ขับขี่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหมวกกันน็อกและเคารพกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ก็คือผู้หลักผู้ใหญ่หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหารือแนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่มากก็น้อยทีเดียว

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

- Advertisement -
Joe Superbike
Joe Superbikehttp://www.superbikemag.com
นักเขียน "หัวใจสีเขียว" ที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์คลาสสิกเป็นชีวิตจิตใจ และมาโลดแล่นในวงการมอเตอร์สปอร์ตระดับโลก

บทความยอดนิยม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่