spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

กฏการแข่ง motogp และ wsbk ที่คุณอาจ(ไม่)รู้

กฏการแข่ง motogp และ wsbk ที่คุณอาจ(ไม่)รู้

กฏการแข่ง motogp และ wsbk

เคยสังเกตไหมหล่ะครับ ว่าการแข่งขันสองล้อระดับเวิร์ลคลาสที่หลาย ๆ คนรู้จัก และได้รับการยอมรับจากแฟน ๆ ทั่วโลกทั้งศึกโปรโตไทป์ MotoGP และโปรดักท์ชัน WorldSBK ที่จัดขึ้นโดยผู้จัดเจ้าเดียวกันอย่าง ดอร์น่า สปอร์ต ซึ่งในประเด็นนี้ คุณผู้ชมอาจรู้จักกันหมดแล้ว ดังนั้น เรามาเจาะจุด กฏการแข่ง motogp และ wsbk ความต่างระหว่างตัวแข่งของทั้งสองรายการว่ามีข้อกฎการแข่งที่คุณอาจไม่รู้ จะมีเรื่องอะไรบ้าง ?

ระบบกันสะเทือน (Active) – ช่วงล่างปรับแต่งเองโดยผู้ขับขี่

กฏการแข่ง motogp และ wsbk
ระบบช่วงล่างของตัวแข่ง YZF-R1 Alex Rins

MotoGP : แบน ไม่อนุญาตให้ใช้ เพื่อลดความยุ่งยากและกลไกความซับซ้อน ทางดอร์น่าจึงไม่อนุญาตให้ทีมแข่งขันใช้ระบบช่วงล่างที่สามารถปรับแต่งเองได้โดยผู้ขับขี่ หรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่าโช้คไฟฟ้านั่นแหล่ะ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงลึกในการแข่งขัน ให้ฝ่ายเทคนิคของแต่ละทีมได้แก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ ภายใต้เวลาที่จำกัด

กฏการแข่ง motogp และ wsbk
ช่วงล่างต้องปรับเอง แม้โรงงานจะให้โช้คไฟฟ้ามาก็ตาม

WSBK : ถึงแม้ว่าการแข่งขันเวิร์ลซูเปอร์ไบค์จะกำหนดให้ใช้สเปคตัวแข่งเวอร์ชันโรงงาน แต่ทว่าในเรื่องของช่วงล่างไฟฟ้าที่ติดมาให้อยู่แล้วในบางรุ่นอย่าง CBR1000RR-R SP หรือ Ducati Panigale V4R ก็ถูกแบนเช่นเดียวกัน ให้ใช้ช่วงล่างที่ปรับด้วยเครื่องมือเท่านั้น

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ

kevin schwantz ตำนานตลอดกาล กับหมายเลข 34 บนตัวแข่ง Suzuki

MotoGP : (แบน) จากตำนานตัวแข่ง 2 จังหวะถูกยกเลิกใช้แข่งขันไปเมื่อปี 2002 และทดแทนด้วยสเปคเครื่องยนต์ใหม่ ด้วยปริมาตรกระบอกสูบ 990 ซีซี 4 จังหวะ เพื่อลดมลพิษทางอากาศและสอดคล้องกับเทคโนโลยีใช้งานบนท้องถนน *โดยปัจจุบันได้มีการลดสเปคสำหรับตัวแข่งขันในปี 2027 โดยลดปริมาตรกระบอกสูบซีซีจากเดิม 1,000 ซีซี ลดลงเหลือเพียง 850 ซีซี เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งทำลายสุขภาพและยังเป็นการลดต้นทุนให้กับแบรนด์ค่ายรถอีกด้วย

WSBK : ถึงแม้จะถอดรูปแบบการแข่งขันรถ 2 จังหวะจากศึกตำนานอันโด่งดังอย่าง Formula TT แต่ World SuperBike Championship หรือ WSBK นั้นสร้างปฐมบทเรื่องราวด้วยตัวแข่ง 4 จังหวะอย่างเครื่องยนต์ V-Twin ของค่ายดูคาติ อาพริเลีย และฮอนด้า และตัวแข่งคลาส 750 ซีซี 4 เม็ดเรียงจากผู้ผลิตญี่ปุ่น จนกระทั่งปรับขึ้นมาเป็นรุ่น 1,000 ซีซีในปัจจุบัน

ระบบ Seamless gearbox

กฏการแข่ง motogp และ wsbk
ระบบชุดเกียร์แบบไร้รอยต่อ

ระบบส่งกำลัง Seamless-Shift Transmissions หรือระบบเกียร์แบบไร้รอยต่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเชนเกียร์+/- อย่างสเถียรโดยไม่ต้องรอรอบและไม่ต้องกำคลัตช์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถ่ายทอดถอดแบบมาจากโมโตจีพี ในเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ควิกชิฟเตอร์ แอสซิสต์สลิปเปอร์คลัตช์

กฏการแข่ง motogp และ wsbk กฏการแข่ง motogp และ wsbk
MotoGP
ในรายการโมโตจีพีอนุญาตให้ใช้ในการแข่งขัน
WSBK
แบน ให้ใช้ชุดเกียร์ที่ติดตั้งมาจากโรงงานเท่านั้น


คันเร่งไฟฟ้า กับ ระบบแทร็คชันคอนโทรล

MotoGP
ไม่อนุญาตให้ใช้คันเร่งไฟฟ้า แต่ระบบแทร็คชันคอนโทรลอนุโลมให้ใช้บางส่วนเท่านั้น (อยู่ภายในการควบคุม) 
WSBK
สามารถใช้ได้เฉพาะเวอร์ชันที่ติดตั้งจากโรงงานเท่านั้น

 

วิงก์เล็ต -เทคโนโลยียอดฮิตที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

กฏการแข่ง motogp และ wsbk กฏการแข่ง motogp และ wsbk
MotoGP 
อนุญาตให้ใช้ แต่ปีกชิ้นส่วนต่าง ๆ
ต้องยึดติดกับแฟริ่งกับตัวรถเท่านั้น
WSBK
ให้ใช้ปีกวิงก์เล็ตเฉพาะเวอร์ชันที่ติดตั้งมาจากโรงงาน ไม่สามารถติดในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้

 

สูตรน้ำมันเบนซิน (ห้ามใช้สารเชื้อเพลิงที่มีสารตะกั่ว)

กฏการแข่ง motogp และ wsbk

MotoGP : เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ในปี 2024 โมโตจีพีได้เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์และเชื้อเพลิงชีวภาพ ทดแทนเชื้อเพลิงที่มีสารตะกั่วซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพร่างกาย *และมีแนวโน้มที่จะยกเลิกการใช้น้ำมันมาจากฟอสซิล อาจจะเป็นน้ำมันไบโอฟิวหรือไม่ก็เป็นน้ำมันสังเคราะห์ที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาด 100% ในอนาคต

กฏการแข่ง motogp และ wsbk

WSBK : มีการปรับเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงที่ไม่ได้มาจากแหล่งฟอสซิล 40% ในปัจจุบันและคาดว่าจะมีการปรับมาใช้เชื้อเพลิงพลังงานสะอาดในเร็ว ๆ นี้

ระบบจุดเบิด Screamer

ทางดอร์น่าได้ยกเลิก ให้ใช้เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดแบบ Screamer ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่กระจายการจุดระเบิดที่สม่ำเสมอ (ให้กำลังในรอบสูง) ซึ่งส่งผลให้ตัวรถนั้นควบคุมได้ยากและกินเนื้อยาง จึงให้ปรับมาใช้การจุดระเบิดแบบ Big Bang ซึ่งให้การควบคุมที่ง่ายกว่า

MotoGP : แบน
WSBK : แบน

จากเบรกคาร์บอน

กฏการแข่ง motogp และ wsbk
จานเบรกคาร์บอน สำหรับแข่งขันโมโตจีพี (สนามแห้ง) โดยเฉพาะ

MotoGP : อนุญาตให้ใช้จานคาร์บอน (เฉพาะสนามแห้ง) ส่วนสนามเปียกให้ใช้เป็นจานดิสก์เบรก (เนื้อโลหะ) เท่านั้น
WSBK : สำหรับรถโปรดักท์ชัน ไม่อนุญาตให้ใช้

ระบบวาล์วแปรผัน

กฏการแข่ง motogp และ wsbk

เนื่องด้วยผู้ผลิตบางรายได้พัฒนาระบบวาล์วแปรผันที่ช่วยส่งกำลังในรอบสูงถูกจำกัดเพื่อป้องกันข้อได้เปรียบเกินขอบเขต

MotoGP : อนุญาตให้ใช้แต่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยอาศัยทักษะของนักแข่งเป็นหลัก
WSBK : ให้ใช้เวอร์ชันติดตั้งมาจากโรงงาน

Holeshot Device

อุปกรณ์ช่วยโหลดโช้คอัพสำหรับการออกตัว จากที่เราเห็น ๆ ตัวแข่งหลายทีมนั้นใช้เพื่อการออกตัวแซงไลน์คู่แข่งในโค้งแรก ซึ่งพัฒนาโดย Ducati และอาจถูกแบนในอนาคต

MotoGP
ปัจจุบัน..ใช้อยู่
WSBK
แบน

 

ซูเปอร์ชาร์จ

กฏการแข่ง motogp และ wsbk

มีผู้ผลิตบางรายที่กำลังพัฒนาระบบอัดอากาศเพื่อใช้สำหรับการแข่งขันอย่าง Kawasaki และไม่เป็นผลดีแน่ ๆ แถมยังทำให้เกิดอันตรายอีกด้วยถ้าหากประมาท เพราะฉะนั้นจึงกำหนดให้ใช้เครื่องยนต์เวอร์ชันโรงงานเท่านั้น

MotoGP : แบน
WSBK : แบน แม้ว่าจะออกตัว Ninja H2/H2R เวอร์ชันซูเปอร์ชาร์จออกมาก็ตาม

ระบบเซ็นเซอร์ IMU

MotoGP : ถูกจำกัดการใช้งาน เพื่อป้องกันการแทรกแซงที่มากเกินไป
WSBK : ใช้ได้บางส่วนเท่านั้น

ความแตกต่างของ MotoGP และ WSBK ในเรื่องการแบนเทคโนโลยี

สรุป – เทคโนโลยีระบบต่าง ๆ ยังคงเอื้ออำนวยความสะดวกสำหรับตัวแข่งโมโตจีพี ถึงแม้จะมีกฎบางข้อที่อาจไม่เอื้ออำนวยหรือมีไปแล้วก็ไม่รู้จะไปใช้ประโยชน์อะไร แต่สำหรับ WSBK นั้นค่อนข้างเข้มงวด แทบเรียกได้ว่าปรับแต่งอะไรได้นิดหน่อยเท่านั้น โดยเน้นสมรรถนะขับเคลื่อนส่งตรงจากโรงงานโดยตรง

MotoGP และ WSBK ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง แต่ถูกควบคุมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และนี่ก็คือข้อกำหนดความต่างระหว่างตัวแข่งโมโตจีพี และเวิร์ลซูเปอร์ไบค์ คุณผู้ชมมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ?

อ่านข่าวอื่นๆ คลิกที่นี่

รับชมวิดีโอการทดสอบรถต่างๆ ของเราคลิก

- Advertisement -
Joe Superbike
Joe Superbikehttp://www.superbikemag.com
นักเขียน "หัวใจสีเขียว" ที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์คลาสสิกเป็นชีวิตจิตใจ และมาโลดแล่นในวงการมอเตอร์สปอร์ตระดับโลก

บทความยอดนิยม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่